ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มีหนังสือไว้มันก็อุ่นใจดี

       เรื่องมีหนังสือไว้มันก็อุ่นใจดี      จำได้ว่า สมัยก่อนตอนที่ผมเด็กๆ คือมันผ่านมาหลายปีแล้ว สมัยก่อนเราจะหัดโปรแกรมอะไรซักโปรแกรม สิ่งแรกที่ต้องไปหาก่อนเลย คือหนังสือคู่มือวิธีใช้ โปรแกรม เหมือนเป็นทางเดียวเลยที่เราจะเริ่มหัดโปรแกรมใด โปรแกรมหนึ่ง และหนังสือสมัยก่อน เล่มที่จะขายดีก็มักจะเป็นหนังสือแปล  จากคู่มือต่างประเทศ เพราะมีภาพประกอบสวยงาม (เดียวนี้บ้านเราทำสวยเยอะ)


       แต่มาในยุคปัจจุบัน ผมว่า แทบจะไม่จำเป็นแล้วน่ะครับ   เพราะว่าเรามีอินเตอร์เนต ทั้งคู่มือฉบับonline บทความติวเตอร์สอน และที่ดีไปกว่านั้น เพือนเราคือ Youtube เป็นวิดีโอเคลื่อนไหวพร้อมเสียงบรรยาย ขืนเปิดแล้วทำตามไป คุณจะใช้โปรแกรมเป็นอย่างแน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย ทั้งที่มีแบบนี้แล้วก็ตาม ผู้คนก็ยังพยายามหา  หนังสือคู่มืออยู่ดี 


          ผมเลยลองทดลองเขียนหนังสือ Anatomy of CorelDRAW  





เป็นการแยกย่อยศึกษาแบบเจาะลึกเลยทีเดียว สองทีก็ได้ตามใจ   ผมจะไม่ระบุเวอร์ชั่นน่ะครับ เพราะถ้าระบุเวอร์ชั่น คนใช้รุ่นเก่าก็เหมือนจะถูกทอดทิ้ง ก็มันยังใช้ได้ดีอยู่เลย ทำไมต้องเปลี่ยนใหม่   สำหรับของดีในแง่ของคนเขียนก็คือ หนังสือมันจะไม่เก่า แม้ว่าตอนนี้ CorelDRAW อยู่ในยุค เวอร์ชั่น 17   ผมยังเขียนหนังสือไม่จบเลย บริษัท Corel อาจเปลี่ยนเป็น เวอร์ชั่น x8 x9 ก็เป็นไปได้ พอหนังสือผมวางแผงก็ดูเก่าไปในทันที    สนพ ก็ไม่เสี่ยงที่จะพิมพ์ หนังสือ คอมฯ ระบุเวอร์ชั่นหรอกพอมันมาเร็วไปเร็ว  ยังไม่ทันวางแผงตกยุคไปซะแล้ว  คุณลองคิดดูใครจะซื้อ หนังสือ "วิธีใช้ WINDOWS XP " บ้างล่ะ  พี่บิลเก็ต ก็ประกาศทอดทิ้ง  XP ไปแล้ว  แม้แต่ CorelDRAW ก็ทอดทิ้งwindows XP แล้วเหมือนกันเห็นได้จาก เวอร์ชั่น X7 หรือเวอร์ชั่น 17  ไม่สามารถติดตั้งบน windows XP ได้   windows ที่ลง CorelDRAW X7 ต่ำสุดคือ Window 7 (สัญญาลักษณ์ X เป็นเลขโรมัน คือเลข10   CorelDRAW X7 ก็คือเวอร์ชั่น17 นั่นเอง)  เมื่อพูดถึงการทอดทิ้ง โปรแกรม CorelDRAW ก็ทอดทิ้ง MAC เลิกพัฒนา เวอร์ชั่นที่รันบน MAC ไปตั้งแต่ เวอร์ขั่น 11  ไม่รู้เกิดไม่พอใจอะไรพี่ตีฟ ทำให้ปัจจุบันนี้ ชาว mac  ไม่สามารถลง CorelDRAW ได้ ยกเว้นจะลง จำลองwindows บนmac  เสียก่อน แล้วค่อยรัน บน windowsอีกที  ยุ่งยากนิดหนึ่ง แต่ว่าก็สามารถใช้งานได้

          แล้วคนก็มักจะถามกันว่า CorelDRAW เวอร์ชั่นไหนดีที่สุด ต้องบอกเลยว่า เวอร์ชั่น ใหม่สุด ดีสุด ถ้าคุณยังไม่เริ่มหัด CorelDRAW เลย ผมแนะนำ อย่างยิ่งยวดให้คุณ ลง เวอร์ชั่น X7 ดีกว่า  หรือถ้าตอนที่คุณเผลอมาอ่านหนังสือ เล่มนี้ตอน CorelDRAW X8 ออกมา ก็จงใช้ X8 เถอะเอาใหม่สุดแหละเป็นดี เพราะว่ามีเครื่องมือ วาดใหม่ๆ ให้ใช้เพียบ ทำให้วาดได้เร็วกว่า สวยกว่า  พูดถึงระบบต่างๆ ก็ดีกว่า อย่างการเรนเดอร์ เงาก็ดูสวยขึ้น การไล่สเตปของการลงสีแบบไล่เฉดสีก็ดีขึ้น  การซัพพอด file ใหม่ๆ ได้ดี รับรองPDF รุ่นใหม่ๆ  เปิดfile เวกเตอร์รุ่นใหม่ๆได้  

        ทำไมฝึกโปรแกรม ต้องซื้อหนังสือก่อน เหมือนกับตรรกะข้อนี้ตัวผมเอง จะหาความเข้าใจไม่ได้ เลยว่า ในเมือมีวิธีสอนแบบ สมบูรณ์แบบอย่างนี้แล้วยังจะหาหนังสือ ไปทำไม หรือเราถูกตรึงด้วย ความเข้าใจแบบเดิมๆที่ว่า จะเรียนอะไรต้องมีหนังสือก่อน ด้วยความรู้สึกแบบนี้ ผมเลยคิดว่ามันอาจจะเป็นความรู้สึกทางด้านจิตใจว่า เราต้องมีหนังสือเราจึงจะมีความรู้ได้ ผมเองก็เป็นแบบนั้นเหมือนกัน แต่เนืองจากสมัยที่ผมเริ่มหัด internetยังเป็นของใหม่ มาก ช้ามากและราคาแพงมาก ซึ่งไม่เหมาะเลยในการศึกษาหาความรู้ แต่หลังจากผมได้อ่านหนังสือคู่มือแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าไม่รู้เรื่องเลย เลยเก็บเข้าลิ้นชัก และลงมือเริ่มจิ้ม ด้วยตัวเอง 


         แล้วก็พบว่า หลังจากเราจิ้มๆ เมาท์ลากไปมา CorelDRAW ทำความเข้าใจได้ไม่ยากเลย และเครื่องมือต่างๆก็ตอบโต้กับผู้ใช้ได้ดีเลยที่เดียว คือลากยังไง ผลก็ออกมาตามนั้น ไม่ต้องตั้งค่าซับซ้อนอะไรมากมายแล้วยังไม่ต้องกดปุ่ม done หรือ OK อีกรอบ คือมันมีผลทันที ที่เราปล่อยเมาท์ หรือ แตะไปที่ส่วนว่างๆของกระดาษ   เพียงแต่ว่า เริ่มแรกเราไม่เข้าใจการติดต่อสือสารกับมันนั้นเอง  หลายคนใจร้อนอยากใช้งานเลย ผมว่าทำแบบผมก็ได้ ลากๆ จิ้มๆมันเลยโดยไม่ต้องอ่านอะไรทั้งนั้น  เพราะกรอบตอบโต้ของ CorelDRAW เข้าใจง่าย  สามารถใช้งานได้เลย  แต่ผมอยากจะเล่าอะไรให้ฟังเป็นประสพการณ์จริง ผมใช้ CorelDRAW ปีกว่า รับงาน พิมพ์นามบัตรเป็นร้อยๆคนแล้ว แต่ผมไม่รู้จักระบบ สเนป  จนผมเอางาน ไปพิมพ์ที่ห้างพันธุ์ทิพย์ พอดีลูกค้าต้องการ งานพิมพ์เลเซอร์  แต่งานในร้านเค้ายุ่งมาก ผมเลยอาสา ทำเอง เค้าก็ยินดี    ครั้งแรกที่ผมไปจับเครื่องเค้าปรากฏว่า เมาท์เค้าขยับเป็นสเตปๆ ทำให้ผมคุมการแก้ไขงานไม่ได้เลย นึกว่าเมาท์เสีย ผมตะโกนถามเจ้าของเครื่อง พี่เมาท์เสียหรือเปล่าทำไมมัน ขยับเป็นสเตปๆ แก๊กๆ เลือนงาน คุมงานไม่ได้เลย เค้าถามผมว่า เธอปิดระบบสเนปหรือยัง  "อะไรคือระบบสเนป?" ผมงงเป็นไก่ตาแตก เพราะไม่รู้ว่ามันมีระบบนี้อยู่ด้วย  จึงเป็นที่มาของ การเขียนหนังสือ เล่มนี้  


                ระบบของการเขียนหนังสือเล่มนี้ ผมจะบอกเล่าถึงระบบต่างๆของโปรแกรม ให้คุณรู้ก่อน คุณจะได้รู้ว่า โปรแกรมมันสามารถทำแบบนี้ได้ด้วยน่ะ     ทำให้คุณต้องไปค้นว่า จะตั้งระบบอย่างไร  ถึงโปรแกรมแต่ละรุ่น  อาจมีการเปลี่ยนตำแหน่งเครื่องมือ หรือคำสั่งในเมนูบาร์  แต่คุณก็รู้ว่ามันมีระบบเหล่านี้อยู่ด้วย   คุณก็จะพยายามค้นหาคำสั่งนี้ออกมาอยู่ดี   คลิ๊กๆเปิดไปไม่นานก็จะพบ         

                 เหมือนอย่างที่ผมบอก ผ่านมาปีหนึ่งผมใช้งานโปรแกรมได้  โดยไม่รู้ระบบต่างๆ เท่ากับว่า ระบบต่างๆที่ว่า ไม่จำเป็นหรือเปล่า ซึ่งไม่ใช่ ถ้าคุณรู้และเข้าใจระบบของมันทั้งหมด คุณจะทำงานได้ รวดเร็วมาก จบชิ้นงานต่างๆ ภายในเวลาอันสั้น  เคลื่อนไหวยกย้ายวัตถุได้รวดเร็ว แม่น เที่ยงตรง  เข้าใจถึงคุณสมบัติของเครื่องมือ หลีกเลี่ยงหรือจงใจ ใช้เครื่องมือนั้นๆ เพื่อให้แสดงผลออกมาตามต้องการและระบบต่างๆที่ผมจะเขียนถึง จะทำให้คุณรู้ว่า มันมีเรื่องแบบนี้อยู่ในโลกเราด้วย  เช่นคุณสมบัติ ของสีหรือ คุณสมบัติของ ชนิดของ file 

                 แล้วเมือไรถ้าคุณเก่ง  "ย้ำว่าคุณเก่ง"  แค่มองงาน หรือคิดจะสร้างงานในจินตนาการ  คุณก็รู้ว่าจะใช้เครื่องมืออะไรวาดมันขึ้นมา   ให้เหมือนดั่งใจนึก   คุณจะเก่งขนาดที่ว่านั่งรถไปแล้วมองป้ายข้างทางหรือใบปลิว   ปร๊าดเดียวก็รู้ว่า  ฉากหลัง ตัวอักษร ภาพประกอบ ใช้เครื่องมืออะไรทำ มองออกว่าส่วนไหนเป็นเงา เห็นเงารู้ว่าจะวางตำแหน่งหน้าหลังอย่างไร  คุณจะดร๊าฟภาพเหมือนแบบแม่ เร็วเป็นจรวด ก๊อบปี้ได้เหมือนแป๊ะ หรือพัฒนางานจนเจ้าของงานก็จำไม่ได้ ว่าได้ไอเดียมาจากเขา  ฟังดูเหมือนเกินจริงแต่มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ  ผมว่าคนพัฒนาโปรแกรม เค้าก็พยายามจะสร้างเครื่องมือใหม่ๆมาตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเวอร์ชั่นใหม่สุดย่อมดีสุดเสมอ ระบบไหนที่ดีๆ หรือเครื่องมือที่เจ๋งๆ  ซึ่งยังไม่มีในโปรแกรม CorelDRAW    บริษัท Corel เค้าก็จะพยายามทำระบบนั้นขึ้นมา  ในลักษณะเหมือนกับของคู่แข่งเอามาใส่ใน CoreldRAW ให้เราได้ใช้  เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเรียก ระบบ  แต่ระบบการใช้งาน ให้ผลเหมือนกัน

                 วรรคข้างบน บางคนจะคิดว่าผมเขียนเกินจริง  เพราะว่าผมเชื่อว่า คนบางคนที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็ยังทำงานไม่เป็นอยู่ดี ยังถูๆไถ่ๆ ใช้แค่ สั่งพิมพ์สั่งตัดสติกเกอร์ตามแบบที่คนอื่นแจกกัน อ่านจบไป มีค่าเท่ากับไม่ได้อ่าน   ถ้าคุณอยากพัฒนา ฝีมือตัวเอง ลงมือปฏิบัติ ฝึกใช้งานมันอย่างเข้มข้น  ศึกษามันให้เข้าใจ ค้นเพิ่มเติม จาก กูเกิ้ล ที่พูดถึงในเรื่องเดียวกัน เพราะบางที เราอาจมีคลื่นไม่ตรงกัน ทำให้เราสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง   คุณจะต้องหาจากแหล่งที่คุณเข้าใจได้ดี แล้วศึกษามัน อย่างตั้งใจ รองรับคุณเก่งแน่  เก่งแล้วได้อะไร  เก่งแล้วได้ตัง ได้สร้างอาชีพเลี้ยงตัว ได้ทำงานที่ตัวเองชอบ  ได้คิดสร้างสรรค์งานใหม่ๆ   มาเริ่มต้นกันเลย 

               โปรแกรม CorelDRAW เป็นโปรแกรม กราฟพิก สร้างสรรค์ งานเวกเตอร์ ประเภท สองมิติ ที่ผลิตโดยบริษัท Corel ประเทศแคนาดา โดยเริ่มวางจำหน่ายเวอร์ชั่นแรก 

CorelDRAW 1.0 ปี 1988  
CorelDRAW 1.21 ปี 1989
CorelDRAW 2.0 ปี 1990
CorelDRAW 3.0 ปี 1992
CorelDRAW 4.0 ปี 1993 
CorelDRAW 5 ปี 1994
CorelDRAW 6 ปี 1996
CorelDRAW 7 ปี 1997
CorelDRAW 8 ปี 1998
CorelDRAW 9 ปี 1999
CorelDRAW 10 ปี 2000
CorelDRAW 11 ปี 2002 
CorelDRAW 12 ปี 2003
CorelDRAW X3 ปี 2005(ver.13)
CorelDRAW X4 ปี 2008(ver.14)
CorelDRAW X5 ปี 2010(ver.15)
CorelDRAW X6 ปี 2012(ver.16)
CorelDRAW X7 ปี 2014(ver.17)
CorelDRAW X8 ปี 2016(ver.18)
CorelDRAW Graphics Suite 2017 (ver.19)
CorelDRAW Graphics Suite 2018 (ver.20)
CorelDRAW Graphics Suite 2019 (ver.21)
CorelDRAW Graphics Suite 2020 (ver.22)
CorelDRAW Graphics Suite 2021 (ver.23)
CorelDRAW Graphics Suite 2022 (ver.24)


ในความคิดส่วนตัว CorelDRAW เวอร์ชั่น 13 ทางบริษัทใช้ X3 แทน  เพราะ เลข 13เป็นเลขที่ไม่เป็นมงคลสำหรับฝรั่ง  ตัว Xเป็นเลขโรมัน คือเลข 10 เท่ากับว่า   X3 ก็คือ 13นั้นเอง และก็ใช้ รหัสแบบนี้มาจนเวอร์ชั่น  X8 ก็คือเวอร์ชั่นที่ 18 พอมาถึงเวอร์ชั่น19 บริษัท Corel เปลี่ยนเป็นออกเวอร์ชั่นใหม่ทุกปี โดยปี2017เริ่มเป็นครั้งแรกตามด้วย 2018 2019 2020 2021 2022


สำหรับระบบปฏิบัติการ  CorelDRAW  หยุดผลิตเวอร์ชั่นที่รันบน MAC มาตั้งแต่เวอร์ชั่น 11
ปัจจุบัน คงรันบนระบบปฎิบัติการ Windows เท่านั้น  และหยุดสนับสนุน windows XP ตั้งแต่เวอร์ชั่น X7 คือ X7 ไม่สามารถลงบนwindows XP  ต้องลงบน Windows 7 ขึ้นไป      
(ทำให้ผู้ที่ยังใช้ windows XP สามารถลง CorelDRAW เวอร์ชั่นสูงสุดคือ X6) 
จะสังเกตุว่า Corel จะส่ง CorelDRAW เวอร์ชั่นใหม่ๆ ออกมาทุกสองปี พอมาเวอร์ชั่น 19 ไม่ใช่X9 แล้วใช้วิธีระบุเวอร์ชั่นเป็นปีค.ศ.แทนแล้วออกเวอร์ชั่นทุกปีแทน
แล้วกลับมาสนับสนุนเวอร์ชั่นที่รันบน MAC ด้วย ปัจจุบันมีเวอร์ชั่นบนMacแล้ว CorelDRAW2022(เวอร์ชั่นที่24)


                 
                เริ่มต้นการใช้งาน หลังเรา เปิดโปรแกรมขึ้นมาเราจะพบกับ welcome screen ขี้นมาให้เราเลือก

  • new Document เริ่มทำงานใหม่
  • new From Template เริ่มทำงานจากแบบฟรอม์สำเร็จรูป
  • Open Recent เลือกทำจาก fileงาน  ที่เพิ่งทำค้างไว้  หรือเพิ่งปิดไป 
  • Open other เลือกทำจาก fileเก่าๆที่อยู่ในเครื่อง 

กด new Document   จะมีกรอบขึ้นมาให้เราเซตอัพ ค่าต่างๆ ซึ่งเราอาจดูไม่เข้าใจก็กด OKไปก่อน เราก็จะเห็นกรอบสีเหลี่ยม ซึ่งแทนค่าด้วยแผ่นกระดาษ หนึ่งแผ่นและมีขอบเงาเทียมเล็กน้อยที่ขอบกระดาษ(ไม่มีผลกับการพิมพ์) เราสามารถตั้งขนาดกระดาษได้ตามใจชอบ  กระดาษ หนึ่งนิ้วคูณหนึ่งนิ้ว ก็ได้ แต่ในค่าปรกติ เราจะเซตให้ตรงกับ เครื่องพิมพ์ ของเราก่อน     

ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องพิมพ์ขนาด A4 เราก็ตั้งค่ากระดาษที่ A4 ให้เหมือนกัน เพราะเมือเราวาดหรือเขียนสิ่งใดบนกระดาษ เช่น เขียนหัวหนังสือไว้ที่ตำแหน่งบนเมือพิมพ์ออกมาก็จะอยู่ด้านบนกระดาษเหมือนกับหน้าโปรแกรม ที่เราเปิดไว้ ส่วนที่วาดเกินออกจากแผ่นกระดาษ ก็จะไม่ถูกพิมพ์    

ส่วนนี้เราเปรียบเหมือนโต๊ะที่วางกระดาษไว้นั่นเอง ซึ่งเป็นโต๊ะที่ใหญ่มาก เราสามารถใช้เครื่องมือซูมออกไปได้ไกลๆ จนเห็นกระดาษ เป็นจุดเดียวเลยก็ได้      ในทางกลับกันเราก็สามารถซูมเข้าจนเห็น หัวตัวอักษรใกล้มากๆจนเห็นแค่เฉพาะหัว ตัวเล็กๆ ของอักษรได้สบายๆ  แต่ถ้าเราจะ Export เป็น file เพื่อไปใช้โพสในเวป หรือ ส่งไปโปรแกรมอื่น งานไม่ต้องอยู่บนกระดาษก็ได้ อยู่บนโต๊ะก็ได้ เมือ Export มันจะยุ่งเกี่ยวกับ  ขนาดงานที่ปรากฎอยู่เป็นหลัก โดยไม่สนว่างานชิ้นนั้นจะอยู่บนกระดาษหรือไม่    และการ Export ยังสามารถเลือก Export เฉพาะส่วนที่เหลือจับไว้ก็ได้

          จำลองให้เห็นแบบนี้น่ะครับ โต๊ะมีกระดาษวางอยู่หนึ่งแผ่น แล้วมองไปด้านขวามือเราเห็น แถบเครื่องมือ ซึ่งมีเครื่องมือสารพัด ไม่ว่าจะเป็นปากกาหัวชนิดต่าง ๆ เครื่องมือวาดทรงเลขาคณิต ยางลบ มีดตัด ไปจนถึงเครื่องมือพิเศษๆ เช่นวาดบล๊อก สามมิติ หรือ เครื่องมือบิดเส้น หมุนกระจายได้ ขอให้คิดถึงหลักความเป็นจริงน่ะครับ เราจะวาดเส้น เราก็หยิบปากกา(free hand tool)ขึ้นมา 


           แต่CorelDRAW มีปากกาให้ใช้หลายชนิดเลยครับ จะเป็นเส้นเล็กเส้นใหญ่ เส้นแปรงภู่กัน  นอกจากนั้นเรายังแปลงเส้น ให้เป็น รูปได้ หมายถึงรูปไอค่อน ชนิดต่างๆน่ะครับ ซึ่งมันจะเกาะอยู่กับเส้นเราโยกเส้นไปทางไหน รูปก็เกาะตามเส้นนั้นไป(artistic media tool)   อย่างที่พูดครับ เส้นที่เราวาดไปแล้วสามารถโยกดัด ปรับไปมา(shape tool) ได้ตามชอบใจ เราสามารถ ดัดเส้นตรงให้กลายเป็นเส้นโค้งได้ตามชอบใจ    พูดง่ายๆก็คือการดราฟนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ รูปหน้าคน รูปอะไรๆ ก็ได้ 







           เริ่มต้นเราก็ต้องศึกษา เรื่องชนิดของรูปภาพ   ซึ่งถูกแบ่งออก   เป็นสองประเภทคือ Bitmap และ Vector ซึ่งเส้นที่วาดจากCorelDRAW จะเป็น เส้น Vector   

เมื่อวาดเสร็จ เราก็สามารถ แปลงกลับให้เป็น ภาพ bitmap ด้วยคำสั่ง Export (กดที่เมนูบาร์ file-Export)  เป็นfile ชนิดต่างๆที่สามารถเข้ากันได้กับโปรแกรม นานาชนิด  เช่น .Bmp .jpg .png .wmf ฯลฯ      

เราก็ต้องศึกษาถึง ชนิดของ file ให้เข้าใจ ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมปักจักร สามารถรับ file ชนิด Vector ในนามสกุล wmf ได้ เราก็ วาดบน CorelDRAW แล้วแปลงเป็น Wmf ไปเปิดเป็นลายปักจักรบนโปรแกรมทำลายปักได้เลย     ตัว wmf ที่เราแปลงมานี้ ก็ยังสามารถใช้เป็นไอค่อนประกอบงานบน Ms office ได้ทุกโปรแกรม  จะสร้างงาน หรือนำเสนออะไร ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป    หรือจะเป็น โปรแกรม ออกแบบเวปไซค์ ทั่วไปที่ต้องการภาพนำไปประกอบบนหน้าเวป CorelDRAW ก็ทำได้ โดยนิยมทำเป็น file JPG หรือ PNG เอาไปโชว์บนเวปไซค์ได้ทันที  

เราก็ต้องศึกษาเรื่อง DPI หรือจุดต่อนิ้ว ที่มีความสัมพันธ์ กับขนาดของการมองเห็นบนหน้าจอ  ว่าจะใหญ่เล็กเท่าไร ถ้าเราศึกษาเรื่อง Dpi ผลพลอยได้ เราก็จะเข้าใจในเรื่องความละเอียดของการพิมพ์ไปด้วย  อย่างการพิมพ์ตัวเครื่องพิมพ์ขนาด A4 เราควรตั้งค่าความละเอียด ไว้ที่ 300dpi ในขณะที่พิมพ์ภาพโปสเตอร์ขนาดใหญ่ เราอาจลด Dpi เหลือเพียง 56 dpi หรือ ใหญ่มากๆ อาจเหลือแค่ 8dpi (กรณีพิมพ์ติดป้ายบนทางด่วน)  

เราจะเห็นโฆษณาขายเครื่องพิมพ์ว่าเค้าสามารถทำความละเอียด ได้ถึง 4,800dpi ซึ่งในความเป็นจริง ถ้าเราทำรูปขนาด 4,800dpi จริงๆคงต้องรอเป็นวันๆกว่าเครื่องจะพิมพ์ออกมาได้  และเม็ดสีก็คงเบียดกันและซึมเข้าหากันจนเรามองไม่ออกถึงความแตกต่าง  คุณสองเอาพื้นที่ยาวขนาดหนึ่งนิ้วแล้วเอาจุด 4,800จุดยัดเข้าไปซิครับ    แต่เราสามารถทำการทดลองได้ง่ายๆ ด้วยการ ทำภาพขนาดเท่ากัน  แต่กำหนดให้มี 300dpi และอีกภาพ 600dpi แล้วพิมพ์ออกมาเปรียบเทียบกัน ถ้ามองแยกไม่ออกถึงความแตกต่าง แสดงว่า ละเอียดไปกว่านี้ก็ไม่มีประโยชน์ครับ เพราะเม็ดสีจะซึมเข้าหากันอยู่ดีตามที่ว่า    และการประมวลผลภาพที่มี dpi สูงมากๆ จะทำให้เครื่องช้ามาก จนถึงแฮงค์ไปเลยก็มี 

           เมือพูดถึงการพิมพ์ เราก็ต้องศึกษาวิชาประกอบก็คือ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสี CMS หรือเรื่อง Profile Color ที่จะช่วยให้เราพิมพ์สีงานจากอุปกรณ์ต่างๆ ได้คล้าย  กับที่ต้องการ    ซึ่งระบบที่ผมกล่าวมาทั้งหมด CorelDRAW รองรับทั้งหมด  ทั้งมีคำสั่งที่สามารถเซตอัพระบบสีต่างๆได้หมด แต่ว่าเรื่องพวกนี้ก็อาจจะดูยากไปนิด สำหรับผู้เริ่มต้น จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกันสี  หากต้องการศึกษา เพิ่มเติมให้ใช้คำค้นหา "color management system" ค้นหาข้อมูลเพิ่มในเนต 

ส่วนเรากลับมาพูดถึงเรื่องการติดต่อกับโปรแกรมก่อน

            จากที่บอกว่า เราอยากวาดเราก็หยิบปากกาขึ้นมา    การหยิบคืออะไร การหยิบก็คือการกด1ครั้งที่ปุ่มเครื่องมือนั้นๆนั่นเอง   เช่นเราต้องการวาดเส้น เราก็กดที่เครื่องมือ Free hand tool พอกด   คริก1ครั้งที่ปุ่มปากกา(pen tool)  ระบบก็จะให้ปากกาติดกับเมาท์เรา  แล้วเราก็ยกมาเริ่ม วาดบนกระดาษ วาดยังไงล่ะ ก็กดค้างไว้บนหน้ากระดาษ แล้วลากโดยยังไม่ปล่อยเมาท์  ก็จะเกิดเส้นบน หน้ากระดาษ  พอปล่อยก็เหมือนเรายกปลายปากกาขึ้น  ขีดๆๆๆ ไปตำแหน่งที่ต้องการ  แล้วเมือเราต้องการลบ เราก็ไปหยิบหรือกดที่ปุ่มยางลบ  ปากกาก็จะถูกปล่อยแล้วยางลบก็มาติดอยู่ที่เมาท์แทน   


          เครื่องมือทุกชนิดรูปแบบมันเป็นแบบนี้ ตราบใดที่เรายังไม่หยิบ เครื่องมือใหม่ เครื่องมือนั้นก็จะติดอยู่ที่เมาท์ตลอด  จำขั้นตอนนี้ไว้น่ะครับ 


          1. จะทำอะไรต้องจับหรือกดเลือกเครื่องมือก่อน  
          2. เราจะทำอะไรกับเส้นที่วาด  ต้องจับเส้นนั้นไว้ก่อน 
          3. เงื่อนไข ไม่ครบ ปุ่มคำสั่งไม่ขึ้น  (เช่น ต้องการเชื่อม เงื่อนไขคือ จับวัตถุ2ชิ้นขึ้นไป เอาไว้ ปุ่มWeld จึงจะขึ้นมา)     


เพือเป็นการบอกให้โปรแกรมรู้ว่าคุณจะทำอะไร     กับชิ้นงานชิ้นไหน  

ยกตัวอย่างเช่น เราวาดเส้นขึ้นมา 2เส้น  เราต้องการลงสีเส้นที่1 เราต้องกดเครื่องมือ Pick tool  

กด ที่เส้นที่1 แล้วไปคลิกเลือกสีที่พาเลดสี  แล้วต่อไปก็คลิกเส้นที่2 แล้วจึงไปคลิกที่พาเลดสี เลือกสีให้กับเส้นที่สอง


เครื่องมือ Pick tool

              picktool เหมือนมือเปล่าๆ  ยก-ย้าย-จับหมุน-จับเอียง  เราแค่จะยกวัตถุ หรือกดบอกให้โปรแกรมรู้ว่าเราจะทำงานกับวัตถุชิ้นนี้  เราจะใช้ Picktool คลิกที่วัตถุชิ้นนั้น เช่นเมื่อเราใช้ Picktool คลิกที่เส้น มันจะขึ้นเป็น จุด แปดจุดรอบตัวมัน   แสดงว่ามันพร้อมแล้วที่จะรับคำสั่งถัดไป กดค้างที่จุดสี่เหลี่ยมมุมใดมุมหนึ่งแล้วลากออก ก็จะเป็นขยายวัตถุ  บีบให้เตี้ยลง หรือให้ผอมเข้า ก็กดที่จุดสี่เหลี่ยมด้านบน และด้านข้าง     แล้วถ้าเราทำการคลิกที่ตัววัตถุครั้งที่สอง เรียกว่าSecond click ซึ่งต่างจาก ดับเบิ้ลคลิก Dbl-click     การดับเบิ้ลคลิกจะคลิกสองครั้งต่อเนื่องกันเร็วๆ       ส่วนการ Second click การคลิกครั้งที่สองจะเว้นระยะเวลาไว้ ไม่คลิกต่อเนื่องกัน     การ Second click ด้วย Pick tool จะมีปุ่มขึ้นมาแปดปุ่มเหมือนกัน แต่ว่าแทนที่จะเป็นจุดสี่เหลี่ยม จะเป็นศรคู่ชี้ ให้เห็นทิศทาง ที่จะหมุนได้ หรือ เอียงวัตถุได้

              เครื่องมือ ทุกชิ้นของ CorelDRAW เมื่อคุณแตะเลือกใช้เครื่องมือ ด้านล่างกรอบหน้าจอจะมี บาร์ Information about Selected tool หรือเรียกว่า "ผู้แนะนำ" ว่าเครื่องมือนี้สามารถใช้ร่วมกับKey อะไรบน keyboard ได้บ้าง  สำหรับเวอร์ชั่นใหม่ๆ จะมีให้เลือกว่าจะโชว์ Color Information หรือ Information about Selected tool แนะนำให้ตั้งเป็น  Information about Selected tool เพือจะได้มีผู้แนะนำ การใช้เครื่องมือ   ผมยกตัวอย่างให้ฟังคือ เช่นเราคลิกใช้เครื่องมือ Pick tool ในบาร์ด้านล่าง Information about Selected tool  จะโชว์ข้อความดังนี้ 


Next click for Drag/Scale ; Second click for Rotate/skew; Dbl-clicking tool selects all objects;  Shift+click multi-selects ;Alt+click digs

Next click for Drag/Scale --- กด1ครั้งที่วัตถุ จะมีปุ่มดำให้ลากเป็นการ ยึดหดหรือปรับสเกล 
Second click for Rotate/skew--- กดครั้งที่สอง จะมีศรให้ การหมุนหรือเอียง วัตถุ
Dbl-clicking tool selects all objects--- ดับเบิ้ลคลิกที่ปุ่มเครืองมือpicktool เป็นการเลือกจับวัตถุทั้งหมด
Shift+click multi-selects ---กดshift+กับการคลิก เป็นการเลือกวัตถุหลายๆชิ้น
Alt+click digs--- กด Alt+คลิกลากผ่านบางส่วนของวัตถุ เป็นการเลือกวัตถุชิ้นนั้น 

เราจะเห็นว่ามีการคำสั่งพิเศษซ่อนอยู่ในเครื่องมือแต่ล่ะชิ้น เราสามารถอ่านได้จากbar  Information about Selected tool ได้ทุกๆเครื่องมือเลย  มีอธิบายแยกกันหมด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือไหน นอกจากนี้ยังมีผู้ช่วยคนเก่ง เรียกว่า Hints  วิธีเปิดกรอบผู้ช่วย คือ กดที่เมนูบาร์ help - hints ก็จะมีกรอก Hints ขึ้นมา เมือเราปรับเป็นเป็นเครื่องมือใด hints ก็จะ เปลี่ยนคำแนะนำวิธีการใช้งานเครื่องมือ อันที่เราหยิบใช้โดยทันที   อธิบาย สิ่งที่ เครื่องมือนี้สามารถทำได้  วิธีการใช้เครื่องมือ นั้นๆ

tip: ในการเลือกวัตถุ  นอกจากการคลิกเลือกแล้ว ยังมี การกด ค้างไว้แล้วลากคลุมวัตถุ มาคีย์ เป็นการเลือกวัตถุหลายๆชิ้นพร้อมๆกัน   ทำให้จับวัตถุที่ถูกวัตถุด้านหน้าบังอยู่  ได้ด้วย

             หน่วยวัดและการเข้าสเกล   โปรแกรม CorelDRAW จะสามารถ ตั้งหน่วยวัดบนกระดาษ หน่วยเป็นมิล เป็นนิ้ว เป็นเซนต์ ฯลฯ ได้ตามถนัดครับ โดยเราจะตั้งค่า unit โดยการดับเบิ้ลคลิกที่บรรทัด ก็จะเรียกกรอบ Rulers ขึ้นมา เราก็สามารถตั้งค่า ได้ที่กรอบนี้  โดยงานที่ วาดบนกระดาษ ขนาด 1 เซนต์ ก็จะพิมพ์จริงออกมา 1 เซนต์ แต่ว่าก็จะมีความเพี้ยนในแนวตั้ง เนื่องจากการพีดกระดาษความเสือมของลูกยาง ของเครื่องพิมพ์ ทำให้คาดเคลื่อนไปเล็กน้อย  ส่วนแนวนอน ขนาดจะเที่ยงตรงมากกว่า อย่างที่พูดในตอนแรกว่า สามารถตั้งขนาดกระดาษได้ 45 เมตร ถ้าเราต้องการทำงานใหญ่กว่า 45 เมตร เช่น 1 กิโลเมตรแบบแผนที่ เราก็สามารถทำได้ ด้วยการกำหนดสเกลให้โปรแกรม เราก็จะสามารถทำงาน วัดขนาดใหญ่ๆ แบบตัวตึก หรือ บ้าน ให้สามารถ ชี้หน่วยเป็นการเข้าสเกลได้  ตัวอย่างเช่น เราเข้าสเกล 1:100 จาก45เมตร ก็จะกลายเป็น 4,500 เมตร หรือ 4กิโลครึ่ง  การเข้าสเกลมีผลกับ เครื่องมือ ไดเมนชั่น หรือเครื่องมือกำหนด เส้นขนาดได้ ตามจริง 
       


             การลงสี ก่อนอื่นเราต้องเรียนรู้คุณสมบัติของ วัตถุ ทุกอย่างที่วาดบน CorelDRAW จะมีอยู่สองส่วนคือ fill หรือสีด้านใน และ outline หรือสีของเส้นขอบ   วิธีการลงสี มีวิธีดังนี้คือ จับที่วัตถุที่ต้องการลงสีไว้ก่อน แล้ว คลิ๊กที่ พาเลดสีที่อยู่ด้านขวามือ ต้องการลงสี ไหนก็คลิกที่ช่องสีนั้นๆ

คลิกเมาท์ซ้ายจะเป็นการลงสีในส่วนของ Fill 

คลิกเมาท์ขวาจะเป็นการลงสีในส่วนของ outline หรือเส้นขอบ

ถ้าเราต้องการให้   ไม่โชว์สี fill หรือ สี outline ให้คลิกที่ช่องกากบาท       

ดูมันเป็นเรื่องง่ายๆน่ะครับ ไม่มีอะไรยุ่งยากเลย เพียงแค่เราไม่รู้เรื่องคุณสมบัติในข้อนี้   แล้วเส้นขอบก็ยังสามารถตั้งขนาดใหญ่เล็กได้  ด้วยการกดเครื่องมือ outline pen (กดF12) ก็ยังมีขนาดต่างๆขึ้นมาให้เลือกใช้ และยังปรับเปลี่ยนเป็นเส้นปะ หรือเส้นจุด หรือปะสลับจุด ได้ด้วยการ เลือกใช้ เส้นตัวอย่างที่เค้ามีให้เลือกหรือ ถ้าไม่พอใจเราก็ยังสามารถสร้างเส้นปะได้ด้วยตัวเอง 

            เส้นOutline  ขนาดของเส้นoutline จะขยายขนาดออกไป จากแกนกลางของเส้นทั้งสองด้าน  ให้เรานึกถึงว่าเส้น ซึ่งมันมีชื่อว่า เส้น path  มันเป็นเหมือนกระดูก  และขนาดของเส้น ก็จะงอกออกไปทั้งสองด้านหุ้มกระดูกไว้นั้นหมายความว่า ถ้าเส้นมีขนาด 1 มิล แต่ละด้านที่งอกออกมาจากเส้นกระดูกก็คือ ด้านล่ะ 0.5มิล  ซึ่งมันจะปะทับfill อยู่ด้านหน้า  แต่เราก็สามารถให้มันไปโชว์อยู่ด้านหลังfill ได้ด้วยการกด Outline pen หรือกด F12 เพื่อเรียกกรอบ Outline penขึ้นมา แล้วติ้กถูกที่หน้าข้อ Behind fill


            เส้น path หรือเรียกว่าเส้น line  หรือ outline  จะเกิดขึ้นได้ การต้องมี โหนดสองโหนด  แล้วโหนดคืออะไร?  โหนดก็คือจุดเริ่มต้นของเส้น Path และจุดลงท้ายของเส้น path ด้วย เราอาจจะวิ่ง เส้น path ผ่าน หลายโหนดก็ได้  และถ้าหาก ไม่มีการวิ่งไปจบที่จุดเริ่มต้น วัตถุชิ้นนั้นก็จะไม่สามารถลง fill ด้านในได้  คงคุณสมบัติได้แค่ เส้น Outline ธรรมดา    


            พอมาให้ยุคของ CorelDRAW X7  Corel ได้เพิ่ม คุณสมบัติ ของเส้น Outline ขึ้นมาโดยเพิ่ม Position  ซึ่งมีปุ่มให้ตั้งค่าสามลักษณะ คือ  
           1.ความหนาของเส้น ขยายไปด้านนอก ของเส้นpath
           2.ความหนาของเส้น ขยายออกจาก แกนกลางเส้น Path (อันนี้เป็นค่าพื้นฐานในทุกเวอร์ชั่น)
           3.ความหนาของเส้น ขยายเข้าไปด้านใน ของเส้นpath
TIP: ตามปรกติแล้ว  ถ้าเส้นไม่วิ่งไป  จบชนที่จุดเริ่มต้น จะลงสี fill ไม่ได้  
ยกเว้นว่าเราจะเข้าไปตั้งค่า Fill open curves
โดยกดTool-Options  ดูราก Document
ติ๊กถูกหน้า Fill open curves  ก็จะไม่ต้องจบเส้น ก็สามารถเติมfill ได้
แต่ก็จะมีผลกับทุกชิ้นบนfileนั้น   ซึ่งไม่เหมาะเท่าไรที่จะทำงานแบบธรรมดา  

               Node และ Line จึงเป็นหัวใจหลักของการสร้างรูปภาพ หรือรูปทรงต่างๆ บน CorelDRAW  คุณต้องศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับ Node และ line ให้ลึกซึ้ง ขนาดที่ว่าสามารถดัดเส้น และขยับโหนด ได้ตามใจต้องการ เรียนรู้เข้าใจ ลักษณะทาง กายภาพของมันให้ เข้าใจ เรียกว่ามองปร๊าดเดียวรู้เลยว่า มันเป็นอะไร   " เส้นโค้ง" "เส้นตรง" "แขนดัดของมัน" 

"เส้นตรง"เป็นเรื่องง่ายที่จะอธิบาย  คือมันจะวิ่งตรงจากโหนดหนึ่งไปสู่อีกโหนดเป็นแนวตรง    

"เส้นโค้ง" มีวิธี บังคับความโค้งของเส้นด้วย เส้นโค้งแบบเบเซียร์Bézier curve   โดยจะมีแขน ที่เรียกว่า  Bézier handle  มีหนังสือบางเล่มเรียกโหนด ว่าเป็นจุด แองเคอร์ anchor ทำให้แขนของมันก็ถูกเรียกว่า แขนแองเคอร์  เอาเป็นรู้กันแล้วกัน ว่าคันโยกที่ใช้ในการดัดเส้นนี้เรียกตามผมว่า แขนแองเคอร์  แต่ความพิเศษอยู่ตรงที่  เราไม่ต้องปรับที่แขน แองเคอร์อย่างเดียว  เราสามารถปรับดัดที่เส้น พาทpath ได้โดยตรงเลย  โดยใช้เมาท์กดค้างไว้ที่เส้น แล้วลากดัดเลยก็ได้ 

            คุณสมบัติของ Node ก็มีหลายคุณลักษณะ     node ที่มีการเชื่อมต่อสัมพันธ์กับเส้นพาทที่วิ่งมาเชื่อมตัวมัน      ถ้าเป็นโหนดของเส้นตรง คือมันวิ่งแนว เส้นตรงระหว่างโหนด อย่างเดียว      แต่ถ้าเป็นโหนดของเส้นโค้งจะแบ่งประเภทเป็นดังนี้
ภาพมุมของโหนดลักษณะต่างๆ ที่ช่วยในการวาดโค้งได้สวย

            1.Cusp node หรือ โหนดเส้นโค้งหักมุม ซึ่งเส้นพาทที่อยู่ระหว่างมัน ไม่เกี่ยวข้องกันเลยสังเกตุที่แขนสองข้างจะโยกได้อิสระ

            2.โหนดของเส้นโค้งที่เส้น พาธ สัมพันธ์กัน  สังเกตุที่แขนสองข้างจะสัมพันธ์กันเป็นเส้นตรง ทำให้โหนดนี้เป็น เส้นมุมโค้งเท่านั้น   โดยยังแบ่งเป็นสองชนิดที่ผมเรียกว่า 
                 2.1 เส้นโค้งแขนเท่ากัน Symmetrical node  โดย เส้นระหว่างโหนดจะมีมุมเท่ากัน โดยเส้นแขงแองเคอร์จะมีความยาวเท่ากัน เมือยึดออก อีกฝั่งของแขนก็ยึดออกยาวเท่ากัน
                 2.2 เส้นโค้งแขนไม่เท่า Smooth node ตามชื่อที่ผมตั้งคือ แขนสองข้างไม่เท่ากัน แต่ก็ยังมีความเกี่ยวพันธ์กันทั้งสองด้าน โดยมีองศาความโค้งต่างกัน เมื่อยึดออก แขนฝั่งตรงข้ามไม่ยึดตาม (สังเกตุที่แขน)

            โดยระบบจะทำให้เราตั้งค่าได้     ถ้ามันเป็น Cusp node อยู่    ปุ่ม Cusp nodeจะใส 
โดยจะโชว์ปุ่มสีเข้มในด้านตรงข้ามเพือแสดงให้รู้ว่ามันสามารถตั้งเป็น แบบโค้งสัมพันธ์ได้     

เหมือนลักษณะที่คุณสมบัติของเส้น ถ้าเป็นเส้นตรงอยู่ "ปุ่มเส้นตรง"จะใส แสดงว่ามันเป็นเส้นตรงอยู่แล้ว  ไม่ต้องกดอีก  แต่จะมีปุ่มสีเข้มในส่วนของ "ปุ่มเส้นโค้ง" ทำให้เรารู้ว่า เส้นนี้สามารถปรับเป็นเส้นโค้งได้      ปุ่มมันเป็นแบบนี้ งงๆหน่อยแต่เข้าใจระบบก็สบายแล้ว   คือจำไว้ว่า ถ้าปุ่มทึบ แสดงว่ามันสามารถเปลี่ยนคุณสมบัติ เป็นตามปุ่มได้

             "เงือนไขไม่ครบ ไม่แสดงปุ่ม" อันนี้เป็นคุณสมบัติอีกข้อที่จะต้องจำไว้ 

การแก้ไขโหนด เงือนไขก็คือต้องกดเครื่องมือ shape tool เท่านั้น ปุ่มแก้ไขโหนดจึงจะขึ้นมา  จำขึ้นใจไว้เลย "เงือนไขไม่ครบ ทำสิ่งนั้นๆ ไม่ได้" 

              ตัวอย่างเช่นเราจะรวมวัตถุสองชิ้นให้ติดกัน เงือนไขคือ จับวัตถุสองชิ้นไว้ก่อน    ปุ่มเชื่อม(weld) จึงจะขึ้นมาให้เห็น    ถ้าเราอยากทำอะไร และทำไม่ได้  แสดงว่า "เงือนไขยังไม่ครบ" หรือวัตถุอาจติดคำสั่งอะไรอยู่  เช่นติดคำสั่ง Contour หรือ blend เราก็ต้องแกะออกจากคำสั่งก่อน ด้วย การ กด Ctrl+K เป็นต้น

              การทำงานกับเส้น  เส้นoutline ที่เป็นเส้นเดี่ยวๆ คือ ไม่ได้จบเส้น จะลง fill ไม่ได้  และเมื่อ
ไม่ได้ จบเส้น คือหัวเส้น ทายเส้นไม่ได้ชนกัน   ก็จะมีปลายของเส้น และในส่วนปลายของเส้นนี้เราจะเพิ่มหัวลูกศรได้ ทั้้ง หัวและท้าย  เป็นหัวลูกศร โดยวิธีตั้งค่าเราจะกด F12 เพือเรียก กรอบ 

Outline Pen จะขึ้นมาทำให้เราสามารถตั้งหัว และท้ายของลูกศรได้ ในส่วนของช่อง Arrows โดยจะมีดร๊อปดาวน์ลิท สองช่องให้เลือกรูปแบบ หัวลูกศรชนิดต่างๆได้ โดยยังสามารถวาดเองก็ยังได้  และในกรอบ outline pen ยังสามารถตั้งค่าเส้นให้ หนาบาง  หัวเส้น (line caps) ให้โค้งตัด หรือปรับองศา(Calligraphy) ให้เหมือนปากกา คอแร้งที่สมัยเด็กๆเรียน ได้อีกด้วย รวมถึงมุมศอก จะให้ศอกแหลม ศอกโค้ง ศอกตัด ก็ตั้งได้  และมีความเข้าใจเกี่ยวกับเส้นที่อยากให้ผู้เรียนรู้ คือ ขนาดของเส้น outline จะไม่เปลี่ยนไปตามการดึงขยาย เช่นเส้นขนาด 1 มิล บน สี่เหลี่ยม กว้างxยาว 1x1นิ้ว เมือขยายเป็น 2x2 เส้น ก็ยังคง 1มิล เหมือนเดิม ทำให้การออกแบบของเราผิดไปจากที่ตั้งใจไว้   แต่เราก็สามารถตั้งค่า ความหนาของเส้นให้ ขยายสเกลตามการขยายได้ โดยกด เช็คบ๊อกช์ หน้า หัวข้อ Scale with Image เสียก่อน  ก็จะทำให้เส้นทุกขยายเป็นอัตรา สมดุลย์ กับชิ้นงานที่ขยายตัวใหญ่ ขึ้นไป 


มุมของเส้น outline 
หลังจากเราเพิ่มความหนา ของเส้นเรายังสามารถปรับแต่งมุมให้เป็นไปตามต้องการ  (กด F12 เพื่อเรียกกรอบตั้งค่า)





ปลายเส้น Outline ตั้งได้สามแบบ
ระบบสร้างเส้น ปะ ที่สามารถออกแบบได้เอง

Tip: การออกแบบจริงๆ แล้วถ้าเราใช้ขนาดของเส้น ร่วมด้วยในการออกแบบ จะทำให้การควบคุม ขนาดของเรา ยุ่งยากขึ้น จากที่บอกข้างต้นว่า เส้นจะขยายออกจากแกนกลาง ของเส้นวัตถุ ทำให้แบ่ง ไปบนล่างอย่างละครึ่ง ทำให้ กรอบสี่เหลี่ยม ที่พิมพ์ออกมามีขนาด ไม่ตามจริง เช่น สี่เหลี่ยม  10มิลx10มิล มีเส้น ขอบ 1มิล ก็จะกลายเป็น 11มิลx11มิล เพราะบวกความหนาของเส้นไปด้วย    เราจะให้วิธีลง fill อย่างเดียว outline เป็น none คือไม่มีขนาดของเส้น  แล้วก็วาดสีเหลี่ยมซ้อนกันสองอัน อันแรก 10x10มิล ลงสีดำ   ส่วนอีกอัน 9x9 แล้วลงสีขาว ซ้อนกัน เราก็จะได้ รูปสี่เหลี่ยม ขนาด 10x10 พอดี โดยมีความห่างของสี่เหลี่ยมสองอันเป็น เส้นแทน      แต่ก็ไม่มีกฏตายตัวน่ะครับ ยังคงใช้ outline ร่วมด้วยได้ถ้าต้องการ       
แสดงให้เห็นการตั้ง Behind fill  มีผลทำให้ เส้น Outline ไปอยู่หลัง fill

               ระบบ สเนป snap   ตามที่เราเห็นการเคลื่อนที่วัตถุ  ที่วาดบน CorelDRAW เราจะสามารถตั้งไว้ที่ตำแหน่งใดของกระดาษก็ได้  แต่ถ้าต้องการ ให้วัตถุทับซ้อนกันสนิท หรือให้เรียงเป็นระนาบเดียวกันจะทำยังไง    ระบบสเนป หรือระบบดูดติด ใน CorelDRAW ก็จะช่วยได้  CorelDRAW แบ่งการสเนป เป็นดังนี้ คือ  

                1. Snap to Document grid  ดูดติดกับเส้นกริด      แล้วอะไรคือ เส้นกริด ให้เรานึกแบบนี้น่ะครับ มีเส้นแบ่งเป็นเหมือนตารางกราฟบน CorelDRAW  เรามองมันไม่เห็น แต่มันมีอยู่ วิธีเปิด grid ให้ เรากดที่เมนูบาร์ view- Grid -Document grid    และถ้าเราเปิดคำสั่งSnap to Document grid มันก็จะดูดติดเป็นช่วงๆตามตารางกริดของมัน       ระบบการตั้งเป็นแบบนี้ครับ   ติ๊กถูก กดครั้งหนึ่งเปิด กดอีกครั้งปิดสลับกัน    ถ้าเราแตะที่ View แล้วมองดูถ้ามีเครื่องหมายถูกอยู่ที่หน้า Grid แสดงว่ามันโชว์แล้ว   

     การSnap to Document grid เราสามารถ เอามาออกแบบตัวอักษรได้ เพราะมันเหมือนตารางกราฟ ทำให้เรากำหนดจุด font ได้ง่ายดาย แล้วยังสามารถ- วาดรูปทรงที่เป็นเหลี่ยมๆได้ดี      (เวอร์ชั่นเก่ากว่า X6 เรียกเป็น Snap to grid เฉยๆ)

               2.Snap to Baseline grid  ระบบนี้จะทำให้วัตถุดูดไปติดกับ Baseline  คือ เส้นบรรทัด ของหน้ากระดาษ  จะเห็นเส้นนี้ก็ต่อเมื่อเรากด ที่เมนูบาร์  view - grid - Baseline grid แล้วกดติ๊กถูกเอาไว้ (เวอร์ชั่นเก่ากว่า X6 ไม่มี คำสั่งนี้)

               3.Snap to Guidelines ดูดติดกับเส้นไกค์ลาย  ตามชื่อครับ เส้น ไกค์  ก็เป็นแนวเส้น ที่เราสามารถลากเส้นไกค์ ออกมาจาก บรรทัดที่อยู่ด้านบนและด้านข้าง กดค้างไว้แล้วดึงลงมา ก็จะเห็นเส้นที่เป็นเส้นแนวในการกะแนวของภาพที่จะวาด การลบเส้น ไกด์ ก็จับเส้นไกค์ไว้ แล้ว กดปุ่ม delete เส้นก็จะหายไป และเส้นไกค์สามารถปรับเฉียงได้ ด้วยการคลิ๊กครั้งที่สอง แล้วจะมีจุดหมุนขึ้นมา    เราสามารถ ตั้งค่าได้ว่าอยู่ตำแหน่งไหนของกระดาษ แล้วเอียงด้วยองศาเท่าไร โดยการ ดับเบิ้ลคลิ๊กที่เส้น Guidelines ก็จะเข้าสู่ กรอบการตั้งค่าเส้น Guidelines สามารถกำหนดตัวเลขได้เลย  
                เมื่อเราตั้งค่าSnap to Guidelines  เมื่อลากวัตถุผ่านเส้น Guidelines  มันก็จะดูดเข้าไปติดกับเส้นทำให้เราสามารถ ตั้งแนวนามบัตรหรือการ์ดให้ตรงกันได้ไม่ยากเลย

               4. Snap to Objects ดูดติดกับวัตถุด้วยกันเอง การเอาสี่เหลี่ยมสองอันมาเรียงติดกัน ไม่ใช่เรื่อง
ง่าย แต่ถ้าเปิดคำสั่ง  Snap to Objects การเรียงวัตถุให้ติดชิดกัน วางซ้อนกันให้สนิท  วางตรงจุดcenter  เป็นเรื่องง่ายมาก 

                 5. Snap to Page

ระบบนี้จะทำให้วัตถุดูดไปติดกับ Page คือขอบขอบหน้ากระดาษนั้นเอง   (เริ่มมีตั้งแต่ X6ขึ้นไป)

                 6. Snap to Pixels 
ระบบนี้จะทำให้วัตถุดูดไปติดกับตาราง Pixels ซึ่งจะตั้งคำสั่งนี้ได้ ในกรณีที่เราเปิดมุมมองแบบ Pixelsเท่านั้น ปุ่มนี้จะใส ติ๊กถูกเปิดใช้งานไม่ได้ ถ้าอยู่ในมุมมองแบบอื่น (มุมมองแบบPixels เริ่มมีครั้งแรกในเวอร์ชั่น X5) 

               ระบบสเนปจะสามารถเปิดให้ สเนป หลายอย่างพร้อมๆกันได้ เช่น ดูดติดไกด์ลาย แล้วก็ดูดติดวัตถุ   ในเวลาเดียวกัน  


   
ภาพแสดงเมือเปิด view Dynamic guide 
           แล้วข้อพิเศษ Dynamic Guides  ก็จะเป็นการเปิด เส้นกากบาทในตำแหน่งเมาท์เหมือน เลื่อนไปได้ฉากกับวัตถุใดๆ บนกระดาษมันก็จะมีเส้นวิ่งให้เราเห็นตำแหน่ง แนวนอนแนวตั้งร่วมถึงมุมเฉียงด้วย อันนี้หาโอกาสใช้ยาก แต่คนจะเปิดไว้กะระยะหรือตั้งแนว  ก็ต้องฝึกหน่อย ถึงจะใช้ Dynamic guides ได้ดี



               






                   

หัวข้อที่เราดูในหมวดของ view หรือมุมมอง ในCorelDRAW ก็มีมุมมองให้เลือกใข้หลายแบบ คือ ที่เมนูบาร์ กด file -view    เราก็จะเห็นการกำหนดมุมมอง ของหน้าจอ CorelDRAW 
หลักๆ จะแบ่งเป็นสองอย่างคือ  มุมมองแบบธรรมดา  และมุมมองแบบเห็นโคร่งร่าง 



ภาพแสดง ความต่างกันของ การตั้งค่ามุมมอง






มุมมองแบบปรกติธรรมดา (Normal view) อันนี้เข้าใจง่าย  ก็คือ มองเห็นสีปรกติ  แต่ว่ามุมมองแบบ wire frame  หรือเห็นเฉพาะโคร่งร่าง ของเส้น Outline แบบตาเลเซอร์ของซุปเปอร์แมน
คือมองทะลุสีไป    มุมมองแบบ wire frame จะไม่เห็นสีfill และ เส้นoutline ถึงเราจะลงสี ไว้เป็นสีเส้นหนา  ก็จะเห็นเป็น เส้นบางๆสีดำ  และ ในส่วนที่เป็น ภาพ bitmap  ก็จะเห็นเป็นภาพร่างๆ สีเทาและเห็นถึงขอบภาพของ bitmap นั้น ทำให้กะระยะตำแหน่งการวางภาพ bitmapได้ดีขึ้น  (คือบางครั้งแบคกราวด์ ภาพbitmap เป็นสีขาวทำให้เรามองไม่เห็น ทำให้ส่วนของแบคกราวด์ภาพประกอบ ไปบางส่วนอื่น)





  • มุมมองปรกติ (Normal view) จะแยกเป็น 


                Draft       แบบเห็นสีปรกติแต่เห็นหยาบๆ ไม่ละเอียดมาก ทำให้ซูมเข้าออกได้เร็วขึ้น (เหมาะกับคนเครื่องไม่แรง)
             
                Normal   แบบเห็นสีปรกติธรรมดาทั่วๆไป อันนี้เป็นมุมมองมาตราฐานที่เราใช้งานอยู่ ภาพจะแยกคมๆ เหมือนภาพที่ยังไม่ใส่  Anti-aliasing

                Enhanced   แบบเห็นสีปรกติแต่ว่า คมชัดสูง แบบ tv HD ก็ว่าได้ แต่ว่าเหมาะกับคนเครื่องแรงๆ เพราะมันจะโชว์แบบความละเอียดสูงสุด คือ ชัด และละเอียดมาก แต่ว่าก็กินกำลังเครื่องมากไปด้วย เวลาซูมเข้า ซูมออก ก็อาจจะแสดงผลได้ช้า  แต่ก็ไม่มีผลเรื่องช้าสำหรับคอมที่แรงๆ



  • มุมมองโคร่งร่าง (wireframe) จะแยกเป็น
               
                Wireframe เห็นเป็นโคร่งร่าง ลายเส้น ของวัตถุ มองทะลุมุมมองสีทั้งหมด  เหมาะกับการหยิบจับวัตถุที่่ออยู่ใกล้กันมากๆ หรือซ้อนอยู่ข้างหลัง วัตถุชิ้นใหญ่  (อันนี้จำเป็น มากในการ เลือกวัตถุ) อีกทั้งยังเห็นขอบเขตของเส้นขอบภาพของ ภาพ bitmapด้วย

                Simple WireFrame  มุมมองนี้ เราจะเห็นเหมือน Wireframe ทุกประการแต่พิเศษตรงที่ หากมีการ Contour จะเห็นเฉพาะวัตถุ ต้นทาง อย่างเดียว ไม่เห็นเส้นชั้นContour    และถ้างานมีการ Blend วัตถุสองชิ้นเข้าหากันจะเห็นเฉพาะ วัตถุตัวต้นและ ตัวปลายทาง  จะไม่เห็นลำดับชั้นการblendระหว่างทาง ทำให้สะดวกมาเวลาแก้ไขเส้น ตัวต้นและตัวปลายของวัตถุblend  และมองงานออกได้ง่าย ทำให้ปรับแก้ไขได้ง่าย


  • และมีแถม มุมมอง แบบ Pixels     
                 สำหรับคนใช้เวอร์ชั่นใหม่ (ตั้งแต่ เวอร์ชั่น X5ขึ้นไป)  จึงจะมีมุมมองนี้ 
มุมมองแบบ Pixel จะจำลอง เปลี่ยน vector เป็น bitmap ให้เราเห็นก่อนว่า เมื่อเรา export เป็น bitmap แล้วภาพจะเป็นลักษณะตามนี้  เมื่อซูมใกล้ๆจะเห็นสีเป็นตารางๆแบบภาพbitmap ทำให้เราไม่ต้องลอง Exportไปจริงๆก่อนถึงจะเห็นสภาพ   อันนี้สามารถกดview แบบ Pixel ดูได้ตลอดเวลาที่อยากดู


                  "จุดสำคัญ ที่ต้องทำความเข้าใจก่อน"  ในการปรับมุมมองการมองเห็น ไม่มีผลใดๆ กับชิ้นงาน  ชิ้นงานยังคงสภาพเดิม  การปรับมุมมอง แค่เป็นผู้ช่วยในการมองเห็นอย่างเดียว  และทำให้เราสามารถเห็นเส้น outlineได้ ทันที  อีกทั้งช่วย ให้การแสดงผลรวดเร็วขึ้น เวลาทำงานก็ไม่สดุด   ในการปรับมุมมองแบบโคร่งร่าง   และก็ไม่มีผลใดๆ กับงาน ไม่ว่าจะ Export หรือ สั่งพิมพ์  


                   เรื่องตัวอักษร   สำหรับการพิมพ์ตัวอักษร บน corelDRAW จะแบ่งออกเป็น สองประเภทคือ                    
                  1. แบบ Artistic text คือชุดตัวอักษร เดี่ยวๆ ใช้พิมพ์ทั่วไป วิธีใช้ คือ กดเครื่องมือ TEXT แล้วคลิ๊กครั้งเดียวที่กระดาษ  จะมีเคอเซอร์ กระพริบ ที่ตำแหน่งที่กด  แล้วเริ่มพิมพ์ ก็จะเป็น text แบบ Artistic text 
                  
                  2. แบบ Paragraph text คือชุดตัวอักษรเป็น พารากราฟ คือ มีการแบ่งเป็นช่อง และมีการตัดคำ เรียงบรรทัดให้เรียบร้อย แต่ว่าน่าเสียดายที่ระบบตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่ ใช้ไม่ได้กับ ภาษาไทย จึงมีการตัดคำผิด   จะเรียกว่า อักษรแบบ พารากราฟ เหมาะกับการทำหนังสือ ที่แบ่งเป็น คอรั่ม เป็นช่องๆ  วิธีใช้อักษรแบบพารากราฟ กดเครื่องมือ TEXT  แล้วใช้วิธี มาคีย์ หรือการกดเมาท์ค้างไว้บริเวณตำแหน่งที่ต้องการ แล้วลากเป็นช่องสี่เหลี่ยม เพื่อกำหนดบริเวณกรอบที่จะพิมพ์ตัวอักษร  
                แต่ไม่ว่าจะเริ่มต้นการพิมพ์เป็นแบบไหน ก็สามารถปรับเปลี่ยนระหว่าง Artistic และ Paragraph ได้โดยวิธีคลิ๊กขวาที่อักษรแล้วเลือกคำสั่งปรับเป็น แบบตรงข้าม

              ใช้การทำงาน ผมแนะนำว่าเค้าควรพิมพ์เป็น แบบ Artistic text ทั้งหมดจะสะดวกกว่าในการจัดตำแหน่งตัวอักษร   เพราะข้อดีของการตัดคำใน Paragraph textไม่สนับสนุนภาษาไทย ถึงจะใช้แบบ Paragraph ก็ไม่มีประโยชน์ ในส่วนของการตัดคำอยู่ดี  



              ตัวอักษรหรือ text ใน CorelDRAW ที่ยังคงคุณสมบัติ font อยู่ เราสามารถแก้ไข 
-ระยะห่างระหว่างตัวอักษร 
-ระยะความห่างระหว่างบรรทัด
ได้ด้วยการ ใช้เครื่องมือ Shape คลิกที่อักษร จะมี ตัวปรับระดับ อยู่มุม ที่สามารถลากเข้าออก ขึ้นลง ที่จะเห็นผลในทันที    





อักษรสามารถตั้งค่าได้ สูงสุด 3,000pt (อักษรพิมพ์ปรกติจะอยู่ประมาณ 18 pt)  ถ้าเราต้องการ ขยาย อักษรให้ใหญ่กว่า 3,000pt เราก็ใช้วิธี คลิ๊กขวาที่ตัวอักษร แล้ว เลือกคำสั่ง Convert to curves  เมื่อตัวอักษรถูกปรับเปลี่ยนเป็นลายเส้นธรรมดาแล้ว  ก็จะสามารถ ขยายได้ใหญ่ขึ้นไปอีก สูงสุดถึง 45 เมตร คือสุดขอบกระดาษพอดี (CorelDRAW ตั้งกระดาษกว้างxยาวได้ด้านล่ะ 45.72เมตร)

             
ตัวอักษรมีระบบตรวจอักษร พิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็กในCorelDRAW  ซึ่งถ้าเราพิมพ์เล็กทั้งหมด ระบบจะเปลี่ยนอักษรข้างหน้า เป็นอักษรพิมพ์ใหญ่ให้อัตโนมัติ 

แต่เราสามารถตั้งค่าให้ เป็นพิมพ์เล็กทั้งหมด หรือพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดก็ได้ โดยกดเลือกตัวอักษรไว้   แล้วกดที่เมนูบาร์ คำสั่งText-Change Case แล้วเลือกรูปแบบ พิมพ์ใหญ่ทั้งหมด พิมพ์เล็กทั้งหมด หรือแบบที่ต้องการได้ อันนี้สะดวกมากไม่ต้องมานั่งพิมพ์ใหม่
    



              ระบบการคีย์ภาษาที่สาม  เราสามารถ เลือกตัวอักษร ได้โดย กดที่เมนูบาร์  text - Insert Character  เมื่อกรอบขึ้นมา ให้เปลี่ยนเป็น Font ของภาษานั้น (ต้องโหลดมาติดตั้งให้ windows ก่อน)  เราก็จะเห็น อักษรนั้นๆเลย เพียงแต่กดแล้วลากมาวางบนกระดาษ ก็ใช้งานได้เลย  หรือจะใช้เครื่องมือ text กดที่กระดาษให้ เคอเซอร์ ขึ้นก่อน แล้วดับเบิ้ลคลิก  ตัวอักษรนั้นๆ ที่ละตัว ตามต้องการ ระบบก็จะพิมพ์ต่อๆกันไปเป็นประโยค ไม่ต้องหาว่าคีย์บอร์ดพิมพ์ตรงอักษรตัวไหน    

            วิธีใช้ ระบบInsert Character  ทำให้เราใช้สัญญาลักษณ์ พิเศษ ต่างๆ ถ้าคณิต วิทยาศาสตร์ สัญญาลักษณ์ทางเคมี ไฟฟ้า ได้ ทุกกรณีที่มี่     font แบบนั้นๆติดตั้งไว้   รวมถึง Font รูปภาพ ที่จะมีรูปการ์ตูน โลโก้ทางการค้า ที่เราสามารถ โหลดfontรูป ภาพนั้นๆมาติดตั้งได้เลย แล้วเวลาเรียกใช้ก็กดใช้จากกรอบ Insert Character   หมดข้อจำกัดด้านภาษาและระบบการคีย์  เพราะว่า เรากดค้างไว้แล้วลากออกมาวางบนกระดาษได้เลย  ส่วนถ้าต้องการ คงคุณสมบัติของ font ไว้ ก็ให้ใช้วิธี กดเครื่องมือtext แล้วคลิ๊กครั้งหนึ่งที่กระดาษ แล้วเลือกอักษรกด insert หรือดับเบิ้ลคลิก ที่ตัวอักษรนั้นๆ   ตัวนั้นจะพิมพ์ต่อที่เรามาร์คไว้  เนื่องจากระบบนี้ยังคงสมบัติ font อยู่    ทำให้เราเลือกรูปแบบได้อีก    ซึ่งแตกต่างจะการลากมาวางมันจะเปลี่ยน font เป็น เคริฟทันที ไม่สามารถเลือกรูปแบบ font ได้อีก  แต่สุดท้ายเราก็อาจต้อง ยอมแพ้ให้กับภาษาจีนเพราะเค้ามีถึง 2,000-5,000 สกอ กว่าจะเจอ ตาคงลายก่อนแน่นอน     เพราะฉะนั้นอาจต้องใช้ตัวช่วยคือเวป หาอักษรจีนด้วยการขีด ที่เวปนี้ครับ  http://www.nciku.com/    หรือใน Google แปลภาษาซึ่งมีระบบกระดาษเขียนลากเส้นหาตัวอักษรได้เหมือนกัน

                  ระบบ ตัวหนังสือ วิ่งตามเส้นโค้ง ด้วยคำสั่ง fit text to path ทำให้ตัวหนังสือไต่ไปตามเส้นโค้ง หรือ วิ่งตามวงกลมแบบทำตรายาง ได้ง่ายดายด้วยคำสั่งนี้   อยู่ในเมนูบาร์ Text - Fit text to path
ขั้นตอนคือจับตัวหนังสือไว้ กดคำสั่ง  Text - Fit text to path แล้วไปชี้ที่เส้น
   


                  ระบบการพิมพ์ ใน CorelDRAW มีระบบการพิมพ์ที่พิเศษ ตรงที่  เราสามารถใช้เครื่องพิมพ์ A4 พิมพ์ งานขนาดเป็นเมตร  ด้วยระบบพิมพ์ต่อเนื่อง Print Tiled Page เรียงลำดับต่อกันเองให้ อัตโนมัติ  พิมพ์ออกเป็น A4หลายๆใบมาต่อกันเป็นรูปโปสเตอร์ได้  หรือ จะตั้งขนาดป้ายเล็กๆ ขนาด 1 x 1นิ้ว แล้วเอามาเรียงต่อกันบนกระดาษ A4 จนเต็ม  พร้อมพิมพ์จุดมาร์ค นำร่องในการตัดได้      และมีระบบการพิมพ์ แบบ Print merge ที่สามารถพิมพ์เลขรันนัมเบอร์ คูปอง บัตรนำเที่ยว บัตรคอนคอนเสิร์ต ต่อเนื่องไปด้วยการสั่งพิมพ์เพียงครั้งเดียว และระบบนี้ สามารถดึงชื่อพนักงาน จาก file EXCEL หรือ Notepad มาวางแบบต่อเนื่องอัตโนมัติ ได้ ด้วยคำสั่ง Pritnt merge นี้    เช่นบัตรนำเที่ยว พิมพ์บนA4 ได้สามใบ  มันจะสั้่งพิมพ์ A4 ใบที่หนึ่ง เลขที่ 1-3 แล้วต่อเนือง ด้วย A4ใบที่สอง เลขที่ 4-5 ต่อกันไปเรื่อยๆ และยังพิมพ์แยกสี Cmyk อย่างล่ะใบได้ด้วย    หรือพิมพ์กลับกระจกก็มีให้เลือกตั้งได้

                  เครื่องตัดสติกเกอร์ ก็เป็นระบบการพิมพ์ชนิดหนึ่งแต่แทนที่จะใช้หมึกก็ใช้ใบมีดในการตัดแทน  CorelDRAW ก็จะกำหนด เส้น Path เป็น เส้นแนวที่จะสั่ง ให้ใบมีดวิ่งไปตามเส้นนั้น ถ้าเป็น เครื่องตัดสติกเกอร์ ของ Roland  หรือMimaki เราจะสามารถ สั่งพิมพ์ ได้โดยกำหนดเส้นoutline ให้มีขนาด 0.025  แล้วสั่งตัดได้เลย   แต่ถ้าเป็นเครื่องจีน หรือไต้หวัน บางรุ่น  จะต้องตัดผ่านโปรแกรมอีกที่ เช่น โปรแกรม Art cut   find cut ฯลฯ โปรแกรมช่วยตัดพวกนี้จะรับ file เช่น EPS หรือ PDF โดย จะเพิ่มความสะดวกให้โดยสร้าง ปุ่ม มาโคร เข้ามาติดตั้งใน โปรแกรม CoreldRAW เลย ทำให้บางคนนึกว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม CorelDRAW ซึ่งไม่ใช่    เป็นแค่โปรแกรมมาโครเสริม   ทำให้ เวลาเปลี่ยนรุ่น บางทีจะติดตั้งไม่ได้  เพราะมันออกแบบ มาโคร มาเฉพาะ เช่น มาโครของ CorelDRAW เวอร์ชั่น 12 เอามาติดตั้งบน CorelDRAW รุ่นใหม่ๆไม่ได้ เพราะว่า รากที่เอาfileไปวางต่างกัน  เนื่องจากของจีนมีราคาถูกกว่า Roland หรือ mimaki  เกินครึ่ง เช่น ราคาเครื่องที่ขนาดเท่ากัน 52,000บาท เครื่องจีนจะอยู่ที่สองหมื่นต้นๆ คุณภาพตามราคาครับ   เครื่องที่ราคาถูก ก็มักจะตัดดีในช่วงแรกๆ พอใช้ไปได้ไม่นานก็จะเกิดอาการ ตัดมุมไม่ขาด  ตัดแล้วขีดฆ่า ตัดแล้วใบมีดวิ่งย้อนไปมา  ตัดไม่ครบแล้วหยุดตัด แต่ถ้าใครจำเป็นต้องซื้อ ผมแนะนำให้หาตัวแทนจำหน่ายที่ไว้ใจได้ มีบริการ หลังการขาย มีอะไหล ไม่งั้น การประหยัดอาจจะกลายเป็นเสียซ้ำเส้นซ้อน   เพราะฉะนั้น ถ้ามีตัง ขอให้ซื้อเป็น Roland หรือ mimaki ส่วนจะเอาอะไรดี ให้ดูว่าศูนย์ บริการของบริษัทไหนใกล้บ้านเรากว่ากัน ก็เลือกยี่ห้อนั้น

                 ระบบ Shaping  เป็นระบบที่ช่วยในการวาด เป็นระบบ เชื่อม ตัด เจาะ วัตถุที่เราวาดขึ้นมา โดยเงื่อนไขของระบบ Shaping ก็คือ ต้องมีวัตถุสองชิ้นขึ้นไป ตัวหนึ่งเป็น Source   อีกตัวเป็นTarget  ถ้าจะเปรียบเทียบให้เข้าใจได้ง่ายๆ ขอให้นึกถึงร้านทำขนม ที่รีดแป้งเป็นแผ่น บางๆ แล้วใช้แม่พิมพ์รูปดาว กดลงไปบนแผ่นแป้ง เราก็จะได้ แป้งรูปดาว ขึ้นมา1อัน  แม่พิมพ์รูปดาวก็คือ Source  ส่วนแป้งก็คือ Target 

เราจะเอา Source ไปเชื่อม Target   ด้วยคำสั่ง Weld
เราจะเอา Source ไปตัด Target       ด้วยคำสั่ง Trim หรือ Simplifly
เราจะเอาชิ้นที่ซ้อนทับกัน ระหว่างSource กับ Target   กดคำสั่ง Intersect
เราจะเอาชิ้นหน้าลบด้วยชิ้นหลัง จะกด Front minus Back
เราจะเอาชิ้นหลังลบด้วยชิ้นหน้า จะกด Back minus Front

และมีอีกสองคำสั่ง ที่ไม่ได้อยู่ในระบบ Shaping แต่ให้ผลคล้ายๆกัน คือ
              ระบบ Combine  ผมจะเรียกถนัดๆว่า คอมบายเจาะ   คือระบบนี้ จะลบส่วนที่ซ้อนทับกันออกไป คงเหลือไว้แต่ Source และ Target แล้วถ้า แล้วถ้า Source ถูกคลุมมิดด้วย Target ก็จะเท่ากับ Sourceถูกเจาะด้วย Target   ยกตัวอย่างเช่นเรา พิมพ์ตัวหนังสือ มา1ตัว แล้ววาดสี่เหลี่ยมคลุมตัวอักษรไว้  เลือกจับทั้งตัวหนังสือและสี่เหลี่ยม แล้วกด Combine ตัวหนังสือก็จะเจาะทะลุสี่เหลี่ยมเป็นช่องแบบตัวหนังสือเลย
             ระบบ Creates a new object that surrounds the selected objects (เวอร์ชั่นใหม่เรียกCreate boundary) ผมจะเรียกง่ายๆว่า ระบบวิ่งเส้นรอบรูป  คือมันจะทำการ สร้างObject เป็นเส้นรอบวัตถุที่เราจับไว้ทั้งหมด  คล้ายกับการ Weld แต่ไม่เหมือน คือ ถ้ามีรูตรงกลาง weld จะเว้นรูไว้ ส่วน การวิ่งเส้นรอบรูปไม่สนใจรู คงว่าแค่การวิ่งเส้นขอบนอกสุดของทุกชิ้นไว้     คำสั่งนี้นอกจากจะมีประโยชน์ ในการสร้างเส้นวิ่งรอบวัตถุทั้งหมด ยังใช้ได้กับ ภาพ Bitmap โดยเราจะวาดสี่เหลี่ยมเล็กๆไว้ในภาพ แล้วกดเลือกสี่เหลี่ยมและภาพBitmap ไว้ เพื่อให้เงื่อนไขครบ แล้วกด Creates a new object that surrounds the selected objects มันก็จะสร้างวัตถุวิ่งเป็นกรอบ Bitmap ให้เลย  กรณีที่เรา แต่โหนดภาพ bitmap เข้ามาชิดกับวัตถุในภาพ เส้นที่สร้างมาก็จะวิ่งเป็น เส้นรอบภาพbitmapแต่งโหนดให้เลย

ระบบ Shaping เราแทบไม่ต้องจำอะไร เพราะว่า รูปปุ่ม Shaping  ดูแล้วเข้าใจได้ง่าย คือมันจะมีรูปSource Target แล้วโชว์ผลให้เห็นเป็นสัญญาลักษณ์รูปตามปุ่มเลย  มองแล้วเข้าใจได้ไม่ยาก


              การเรียงลำดับชั้นและระบบlayer  โปรแรกม CorelDRAW จะเป็น ลักษณะที่ว่า  วาดอะไรก่อนอยู่ชั้นล่างสุด วาดอะไร ที่หลังสุดจะอยู่บนสุด   คือมันจะบังชิ้นงานที่วาดก่อน แต่ว่าเราก็สามารถจัดลำดับชั้นใหม่ได้ด้วย ไม่ว่าจะให้ อยู่บนสุดหรือล่างสุด หรือ วางบนหน้าชิ้นไหน หลังชิ้นไหนได้ตามใจชอบ   ด้วยการคลิ๊กขวาที่ วัตถุ เลือก Order ตามด้วยคำสั่ง

To Front of Page   นำมาวางไว้หน้าสุดของหน้า
To Back of Page  นำไปวางหลังสุดของหน้า
To Front of Layer นำไปวาง หน้าสุดของเลเยอร์
To Back of Layer นำไปวาง หลังสุดของเลเยอร์
Forward One เลื่อนมาด้านบน 1 ลำดับ
Back One  เลือนไปด้านหลัง 1 ลำดับ
In Front Of... นำไปไว้ข้างหน้าชิ้นนี้  (จะเปลี่ยนเมาท์เป็นศรนำไปชี้ชิ้นที่ต้องการ)
Behind..นำไปไว้ข้างหลังชิ้นนี้  (จะเปลี่ยนเมาท์เป็นศรนำไปชี้ชิ้นที่ต้องการ)
Reverse Order ยกเลิกคำสั่งล่าสุด

จะเห็นว่ามีการพูดถึง Layer  การสร้างงานทั้งหมดถ้ามีไม่การเปิดระบบเลเยอร์ งานทุกชิ้นจะเรียงลำดับเป็นชั้นๆกันไปตามการวาด ก่อนหลัง ถ้าเราต้องการเรียกระบบ เลเยอร์ ขึ้นมาใช้งานเราต้อง เรียกกรอบ layer โดย กดที่เมนูบาร์ Tools-Object Manager เราก็จะเห็น กรอบ Layer ขึ้น มาเราต้องระบุ สร้างเลเยอร์ ขึ้นมา แล้วลากวัตถุเข้าไปใน Layer นั้นเราก็จะสามารถใช้ ระบบ Layer ได้ 

รูปตา กำหนด ว่าให้มองเห็น หรือ มองไม่เห็น layerนั้นๆ เมื่อปิดตาจะมองไม่เห็น วัตถุในเลเยอร์นั้น
รูปเครื่องพิมพ์ กำหนดว่า จะพิมพ์ หรือไม่พิมพ์เลเยอร์นั้น ส่งผลกับ การ Export
รูปดินสอ กำหนดว่า จะ ล๊อคหรือไม่ล๊อค ถ้าล๊อคไว้เราจะจับวัตถุที่อยู่ในเลเยอร์นี้ไม่ได้

ระบบเลเยอร์มีประโยชน์ในการ เลือนลำดับ ชิ้นงาน ได้ง่าย กว่าการจับที่ หน้าจอ และลดความสับสนในการจัดการกับ วัตถุจำนวนมากๆ   โดยจะแบ่งเป็นชุดๆ แล้วปิดการมองเห็นไปก่อน เพื่อไม่ให้รบกวน การสร้างงานของชิ้นอื่น


                 ระบบจัดเรียงแนว  และ กระจายกลุ่มวัตถุ Align and Distribute หลายครั้งที่เราทำงานเรามักอยากจะจัดลำดับ วัตถุให้เข้าแถวเป็นหน้ากระดาษ หรือจัด รูปให้เรียงลำดับเป็นแถวเป็นแนวตามต้องการ หรือจัดช่องไว้วัตถุให้ แบ่งช่องไฟเท่าๆกัน ทำได้ด้วย ระบบนี้ครับ 

Align left  จัดแนว ชิดซาย   โดยจะยึดขอบด้านซ้ายของวัตถุ มาเรียงกันแนวตั้ง
Align Right  จัดแนว ชิดขวา  โดยจะยึดขอบด้านขวาของวัตถุ มาเรียงกันแนวตั้ง
Align Top จัดแนว ชิดบน  โดยจะยึดขอบด้านบนของวัตถุ มาเรียงกันแนวนอน
Align Bottom จัดแนว ชิดลาง โดยจะยึดขอบด้านล่างของวัตถุ มาเรียงกันแนวนอน
Align Centers Horizontally จัดแนว โดยจะยีดกึงกลางของวัตถุ มาเรียงกันแนวนอน
Align Centers Vertically จัดแนว โดยจะยีดกึงกลางของวัตถุ มาเรียงกันแนวตั้ง

โดยเงื่อนไขของการจัดเรียงคือ เลือกจับวัตถุทั้งหมด เอาไว้ก่อน แล้วกด คำสั่งที่เมนูบาร์ Arrange - Align and Distribute  โดยการเรียงคร่าวๆอาจจะ นำวัตถุ หนึ่งชิ้นไปวาง ข้างหน้า แล้วนำวัตถุอีกวางด้านขวา เพื่อกำหนด พื้นที่ ที่จะเอาวัตถุทั้งหมดมาจัดเรียง  


                  ระบบจัดการกับภาพ Bitmap  อย่างที่ทราบกันดีว่า  CorelDRAW เป็น โปรแกรม vector แต่ก็ยังต้องพึงพาระบบจัดการกับภาพ bitmap อยู่ดีเพื่อความสมบูรณ์ในการ สร้างสรรค์งาน  ใช้ชุดของ CorelDRAW จะมีโปรแกรม CorelPhotoPaint  เราจะเรียกย่อง่ายๆ ว่า PP   PP เหมือน PS หรือ photoshop ของฝั่ง Adobe ทุกประการ เพียงแต่ออกแบบและผลิตโดยบริษัทCorel   เราจะใช้ PPจัดการกับ ภาพ Bitmap บน CorelDRAW ในเวอร์ชั่นเก่าๆ จะรัน โปรแกรมPP ขึ้นมาทันทีในการจัดการกับภาพ bitmap แต่เวอร์ชั่นใหม่ๆ แทบไม่ต้องเรียก PP ออกมาแล้ว เพราะว่าเราสามารถปรับแต่งสี โหมดภาพ ตัดภาพ บน CorelDRAW ได้เลย   แต่ถ้ามีการแก้ไขแบบมากๆ เช่น ต้องรีทัชภาพ  ก็ยังคงต้องเรียกรัน PP อยู่ดี 
  ในโปรแกรม CorelDRAW มีเมนูข้อหนึ่งคือ Bitmap เมนูนี้จะรวมสิ่งที่ทำได้ เช่น แปลง vector ให้เป็น Bitmap  การเปลี่ยนโหมดภาพ เช่นเปลี่ยนโหมดภาพเป็นสีเทา  รวมถึง Effectsที่สามารถทำได้กับภาพbitmap ฟิวเตอร์ต่างๆ  ก็สามารถทำได้
                  อีกข้อที่คนส่วนมาก อยากทำให้ง่ายๆ ก็คือ การแปลงภาพ Bitmap เป็นลายเส้นVector  ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว   ไม่มีโปรแกรมใดที่สามารถทำภาพ Bitmapเป็นเวกเตอร์ได้สมบูรณ์  ทำได้แค่ คร่าวๆ และภาพ bitmapต้องมีขนาดใหญ่มากและมีความคมชัดสูง   ถึงจะสามารถนำมาแปลงได้ด้วย โปรแกรม  และโปรแกรมที่ว่าก็คือ โปรแกรม CorelTrace เวอร์ชั่นเก่าๆ แยกออกเป็นโปรแกรมต่างหาก   ซึ่งรวมมาในชุดโปรแกรม  แต่เวอร์ชั่นใหม่ๆ X3ขึ้นไป CorelDRAW ได้รวม โปรแกรม TRACE เข้าในโปรแกรม CorleDRAW แล้วจึงไม่มีไอค่อนย่อยให้เรียกโปรแกรมเหมือนเวอร์ชั่นเดิม      และเวอร์ชั่นใหม่ๆ ระบบ Trace ก็ดีขึ้น  Traceได้เส้นสวยขึ้น โหนดน้อยลง และมีระบบต่างๆ แยกย่อย มาให้ช่วยในการtrace แล้วเอาไปใช้งานได้จริงๆ      ยังไงก็ตามระบบTrace เป็นเพียงโปรแกรม ที่ทำหน้าที่เดินเส้น vector ไปตามความแตกต่างของสีบนภาพ bitmap     ถ้ารูปภาพbitmapต้นฉบับ  มีขนาดเล็ก หรือ มัว ไม่คมชัดโอกาสที่จะ Trace ได้เท่ากับ ศูนย์ คือtraceแล้วเอาไปทำอะไรไม่ได้เส้นหงิกงอหมด   ที่นี่เรามาคิดถึงที่ว่า ถ้าภาพ bitmapมีขนาดใหญ่และคมชัดมากๆ แล้วจะมาTrace ทำไม ก็เอาไปใช้งานได้เลยซิครับ เพราะว่ามันชัดอยู่แล้ว       จึงไม่อยากให้ผู้ฝึกหัด ไปเน้นเรื่อง Trace ขอให้ไปเน้นเรื่องการดร๊าฟด้วยมือเอง หรือ เดินเส้นด้วยตัวเองดีกว่า งานจะสวยและงานที่ได้ดูเป็นมืออาชีพมากกว่า   ขอให้คิดว่า ถ้า โปรแกรม Trace เส้นเวกเตอร์  มีอยู่จริงในโลกนี้ คนเราจะไปหัดดร๊าฟให้เสียเวลาทำไม

                 สำหรับวิธีการ Trace  หรือการแปลง ภาพ bitmap ให้เป็น ลายเส้นvector  จะมีวิธีการทำดังนี้คือ จับภาพ bitmapที่จะทำการ Trace เอาไว้ มองดูที่แถบ properties bar   ด้านบนจะเห็นปุ่ม Trace bitmap เลือกแบบการ trace  โดยจะมีให้เลือก สามแบบ คือ

              Quick Trace  คือ Trace แบบด่วน ไม่ปรับแต่งอะไรเลย  กดแล้วtraceเลยไม่ต้องแต่ง ก็เละไปตามระเบียบ

              Centerline Trace คือการ Trace เอาเฉพาะเส้นกลาง ถ้าภาพเส้นมีความหนา โปรแกรม จะ ยึดเส้นแนวกลางเป็นหลัก เช่นtrace แผนที่ประเทศไทย ที่แบ่งเป็นจังหวัด ล่ะสี  ก็จะได้เส้นกลางแบ่งพื้นที่จังหวัด ไม่มีสี  เป็นเส้นเดี่ยวๆ     ก่อนกด Trace ยังสามารถปรับแต่งเพิ่มค่า การ Trace ได้ ทำให้เห็นตัวอย่างลายเส้นที่จะปรากฏ หลังการกด OK

              Outline Trace คือการ Trace เป็นสีตามจริง แบ่งเป็น ชิ้นๆ แยกตามสีจริง  แบบ ก่อนกด Trace ยังสามารถปรับแต่งเพิ่มค่า เพื่อให้เหมาะกับชนิดของภาพ bitmap  ก่อนการ Trace ได้

               การที่เราจะเลือกรูปแบบการ Trace แบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับภาพที่นำมา Trace ซึ่งจะมีแบบเยอะมาก แล้วแต่ล่ะแบบที่เลือกก็ให้ผลแตกต่างกัน   ไม่มีกฎตายตัวขึ้นอยู่กับความชำนาญ ในการ Trace แต่ผมแนะนำว่า ไม่ควรฝึก เพราะว่าสุดท้าย ได้ไม่คุ้มเสีย  เพราะ งานที่ได้จากการ Trace ต้องเสียเวลามาแก้เส้น จัดลำดับชั้นใหม่ พลิกเส้นใหม่    เมื่อคำนวนดูแล้ว การวาดใหม่อาจง่ายกว่า และงานที่ได้ ก็สวยกว่า แน่นอน   เหมือนกับไปซ่อมบ้านเก่า เสียเวลา สู้ทุบทิ้งสร้างใหม่ไม่ได้

                หลังจากเราเรียนรู้ระบบต่างๆ จนครบถ้วนเราก็เริ่มมาดูที่หน้าตาของโปรแกรม


เราก็มาดูกันว่า ส่วนไหนเรียกว่าอะไร
เมนูแรก เรียกว่า
  • Menu Bar เมนูบาร์บนสุด จะรวบรวมคำสั่ง พื้นฐานคล้ายๆโปรแกรมทั่วไป ก็มี Open save และอื่นๆ ในการป้อนคำสั่ง สั่งให้ทำอะไรกับชิ้นงาน
  • Status Bar อยู่ด้านล่างสุด จะ แจ้งข้อมูลพื้นฐาน ของวัตถุที่อยู่บน กระดาษ และยังเป็นที่แจ้งคำอธิบายว่า เครื่องมือนี้ สามารถใช้ร่วมกับปุ่มอะไรให้ผลอย่างไร
  • Standard Bar จะรวมรวบปุ่มที่เป็นเมนูพื้นฐาน แต่ว่าโชว์ในรูปของ ปุ่มกด ได้สะดวก
  • Property Bar เมื่อเราจับเครื่องมืออะไร  Property bar ก็จะโชว์คำสั่งย่อยที่สามารถตั้งค่าได้ของเครื่องมือนั้นๆ หรือถ้าไม่เลือกเครื่องมืออะไร แล้วคลิ๊บที่ส่วนว่างๆ ก็จะเป็นส่วนของการตั้งค่ากระดาษ รวมถึงการแจ้งขนาดวัตถุ ตำแหน่งที่อยู่บนกระดาษ
  • ToolBox จะเป็นปุ่มเครื่องมือต่างๆ เช่นปากกา ยางลบ ตัวดูดสี ลงสี และเครื่องมือพิเศษต่างๆ หน้ากระดาษ ก็จะเป็นพื้นที่สร้างงาน เมือสร้างงานไว้ตำแหน่งใดของกระดาษ ก็จะถูกพิมพ์ออกมาตรงตำแหน่งนั้นๆ
  • ไม้บรรทัด  บรรทัด เป็นที่แจ้งหน่วยวัด ขนาด ซึ่งเราสามารถดับเบิ้ลคลิกเพื่อ เรียกกรอบตั้งค่า unit ใหม่ เช่นเปลี่ยน มิล เป็น นิ้ว  และยังสามารถ กดค้างไว้ที่บรรทัดแล้วลากเข้ามาที่หน้ากระดาษเป็นการดึงเส้นไกด์ลายออกมา
  • พาเลดสี เป็น สีที่จะใช้ลงสีวัตถุ โดยคลิ๊กซ้ายเป็นการลงสีfill คลิกขวาเป็นการลงสี ในส่วน Outline กากบาทเป็นตำแหน่งที่ระบุให้ไม่มีสี หรือไม่ลงสีใดๆ
การเปิด-ปิด แถบเมนูต่างๆ เราสามารถ คลิ๊กขวาที่แถบบนสุดในส่วนที่ว่างๆ  ก็จะมี แถบเหมือนตัวอย่างภาพ จะเห็นว่ามีชื่อ บาร์ต่างๆ เราติ๊กถูกเท่ากับเปิด บาร์นั้นๆ  ถ้าไม่ติ๊กถูกแสดงว่า บาร์นั้นๆ ปิดไว้ มองไม่เห็น      แต่สังเกตุดูว่า จะไม่มี บาร์พาเลดสี เพราะ บาร์พาเลดสี เวลาเปิดปิด ต้องไป กดที่เมนูบาร์ Window-Color Palettes - แล้วติ๊กถูกหน้าพาเลดสีที่ต้องการ  ผู้หัดใหม่ๆ มักทำพาเลดสีหายไป โดยจะทำคล้ายๆกันก็คือ ดึงแถบสีออกมาไว้ข้างนอก แล้วเผลอกด กากบาท ปิดไปตามความเคยชินในการใช้กรอบโปรแกรม ทั่วๆไป จึงทำให้พาเลดสีหายไป     แต่ก็มีบางครั้งที่เปิดพาเลดสีไว้แล้ว แต่ก็ไม่เห็นในหน้าจอ  คือมันไปแอบอยู่นอกกรอบโปรแกรมเลย  ถ้าเป็นกรณีนี้เราต้องเปลี่ยน ความละเอียดของจอให้สูงขึ้นอีก โดยปรับที่ Screen resolution เช่นเดิมอาจตั้งไว้ที่ 1024x768 ก็เปลี่ยนเป็น 1280x960 เราก็จะเห็น พาเลดสีที่แอบอยู่  

                  การตั้งค่ามาตราฐาน  เนื่องจาก โปรแกรม CorelDRAW เปิดกว้างเรื่องการเซตรายละเอียดต่างๆของหน้าจอ หรือพื้นที่ทำงาน ได้ อิสระ  โดยจะมีการจดจำไว้  ทุกครั้งที่เปิดโปรแกรมขึ้นมาใหม่ ค่าเดิมๆก็ทุกตั้งค่าไว้อย่างนั้น  เช่น  กระดาษ letter  บรรทัดหน่วยมิล  outlineดำ fill ไม่มี  ซึ่งถึงระหว่างที่เราใช้งานโปรแกรมอยู่ ถึงเราจะตั้งค่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร  สุดท้ายเมือปิดโปรแกรมเปิดใหม่ ค่าก็เซตกลับไปตามเดิม     ถ้าเราอยากเก็บค่าต่างๆไว้ เช่น กระดาษเป็นA4 บรรทัดหน่วยนิ้ว  outlineสีแดง หรือ font ตัวเดิมขนาดเดิมในครั้งแรกที่พิมพ์     เราต้องSave Optionsไว้ เป็นค่ามาตราฐานของเราคือ ให้กดที่ เมนูบาร์ 
       กด Tool-Options
       ดูราก Document 
       ติ๊กถูกหน้า Save Options as Defaults for new documents
       ติ๊กถูกทุกข้อ
       แล้วกด OK

                   เพี่ยงเท่านี้การตั้งค่า Defaults หรือค่ามาตราฐานประจำเครื่องเราก็จะถูกบันทึกไว้เปิดโปรแกรม ครั้งใหม่เมื่อได้ ก็จะมีค่าตามที่เราตั้งไม่ตลอด จนกว่าจะกด save options ในส่วนของโปรแกรมอีกที    แล้วการตั้งค่าละ?

       ยกตัวอย่างขั้นตอนการ เซตค่า Font ให้เป็นค่ามาตราฐาน  ให้เราทำตามลำดับดังนี้
        เริ่มต้นด้วยการไม่จับเลือกอะไรบนกระดาษเลย วิธีไม่ Select วัตถุใดๆ ก็คือใช้เครื่องมือ Pick tool คลิ๊กบริเวณที่ว่างๆ
        กดที่เครื่องมือ TEXT  (ปุ่มรูปตัวA)
        แล้วไปตั้งค่าตัวอักษร ที่ Properties bar เช่นเลือกแบบ font ใหม่ ทันที่ที่เลือก จะขึ้นกรอบมาถามว่าคุณจะเซตเป็นค่า Defaults หรือไม่ ถ้ากด ok ระบบก็จะใช้ fontรูปแบบนี้ ในทุกครั้งที่กด เครื่องมือ TEXT แต่ก็จะเป็นเฉพาะ ครั้งนี้เท่านั้น ถ้าอยากให้ค่านี้ถูกบันทึกไว้ คุณต้องไปกด Save Options ครั้งสุดท้ายก่อนปิดโปรแกรม เพื่อให้ค่า Defaults ต่างๆ ที่ตั้งไว้ครั้งหลังสุด ถูกบันทึกไว้


ภาพแสดงกรอบ การตั้งค่า Defaults ของ TEXT
นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการเซตค่า ซึ่งปุ๋มเครื่องมือ อื่นๆ ก็ใช้วิธีแบบเดียวกัน  เช่นอยากตั้ง ให้ทุกครั้งที่เริ่มวาดวัตถุ ให้เป็นOutline สีแดง ขั้นตอนก็ต้องเริ่มต้นด้วยการไม่ Select วัตถุใดๆ   แล้วไปคลิกขวาที่พาเลดสีในช่องสีแดง ก็จะมีกรอบลักษณะแบบนี้    แสดงขึ้นมาเพื่อสอบถามว่า  คุณจะเซตสีนี้เป็นoutline  Defaults ของเครื่องหรือไม่  ถ้าตอบ OK ทุกครั้งที่เริ่มวาด จะเป็นเส้นสีแดง                       การตั้งค่าหน้ากระดาษ หรือหน่วยวัด สามารถ ตั้งค่าได้เลย แล้ว 

อย่าลืม ถ้าต้องการให้ค่าทีเราเซตอัพทุกๆอย่าง มีผลตอนเปิดโปรแกรมใหม่ขึ้นมาทุกครั้ง ก่อนปิดโปรแกรม ต้องเซฟ Save Options ก่อนทุกครั้ง ผลหรือค่าต่างๆที่เราตั้งไว้ ก็จะทุกใช้แบบนั้นไปตลอด จนกว่าเราจะตั้งค่าใหม่และกด Save Options อีกครั้ง

Tip: กรณีต้องการ ตั้งค่า workspace  เป็นแบบครั้งแรกที่เริ่มลงโปรแกรมใหม่ๆ
ให้กดปุ่ม F8 ค้างไว้ขณะ บูสโปรแกรม
(กด F8ค้างไว้ก่อน แล้วดับเบิ้ลคลิ๊ก ที่ไอค่อน CorelDRAW)
จะมีกรอบคำถาม
Are you sure you want to overwrite the curent workspace with Factory default?
เมื่อตอบ Yes  ค่า Workspace การเซตอัพ ก็จะกลับสู่มาตราฐาน เมื่อครั้งแรกที่ลงโปรแกรม


 เรื่องของ Font ระบบ font หรือตัวอักษร ในรูปสวยงาม หรือเป็นอักษรประดิษฐ์ ของภาษาไทย แบบต่างๆ CorelDRAW ก็เหมือนกับโปรแกรมอื่นๆที่รันบน window โดยจะดึง font จากwindows มาใช้ เมื่อคุณต้องการ fontไทยในรูปแบบสวยๆ ใหม่ๆ  คุณต้องดาวน์โหลดมา เมื่อคุณ โหลดfont เหล่านั้นมา คุณต้องทำการติดตั้ง ในwindows เสียก่อน  file font จะมีนามสกุล .otf หรือ .ttf ซึ่งสามารถค้นหาวิธีติดตั้งได้ในอินเตอร์เนตโดยพิมพ์คำว่า "วิธีติดตั้งfont"ก็จะมีวิธีติดตั้งfont ตามเวอร์ชั่นwindowsที่ท่านใช้งานอยู่  การติดตั้งปรกติ ก็จะเอา file fontที่โหลดมา  ไปวางไว้ในราก C:windows/fonts เมื่อติดต้้งเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถกดเลือกใช้ได้จาก CorelDRAWเลย แต่ก็อาจมีปัญหา ถ้าท่านไปโหลดเจอ fontไทยยุคเก่าๆที่ออกแบบใช้งาน สมัยที่ใช้กับwindow95หรือเก่ากว่านั้น  ก็จะใช้งานไม่ได้  โดยเมื่อพิมพ์ภาษาไทยมันก็จะขึ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม แสดงว่าเป็นfontรุ่นเก่าทำให้การอ้างอิงตำแหน่งการkeyไปดึงอักษรมาผิดตำแหน่ง เลยกลายเป็นรูปสี่เหลี่ยมแทน หรือเป็นภาษาประลาด ก็จะใช้ไม่ได้เหมือนกัน แต่ว่าถ้าเป็นfontไทยรุ่นใหม่ๆ ในเวป f0nt.com จะใช้ได้ทั้งหมดเพราะเป็นรูปแบบfontใหม่ มาตราฐานพัฒนาแล้ว อีกเรื่องเกี่ยวกับfontที่คนทำกราฟฟิคควรรู้ไว้คือ   บาง fontไทย มีลิขสิทธิ์  ยกตัวอย่าง font ของบริษัท PSL ชื่อ font จะขึ้นต้นด้วย Psl.... เป็นfontลิขสิทธิ์ท่านต้องซื้อก่อนจึงจะมีสิทธิ์ใช้งานได้   แต่ก็มี รูปแบบfontสวยๆ อีกมากมายที่ให้โหลดใช้กันฟรีๆ  ถ้าไม่แน่ใจ ขอให้ใช้คำค้นหาใน web f0nt.com พิมพ์คำค้นหาว่า "fontไหนฟรี fontไหนเสียตัง" ก็จะมีระบุไว้ละเอียดเลย จึงควรตรวจสอบให้แน่ใจ   ส่วนfontภาษาต่างประเทศ เช่นลาว จีน ญี่ปุ่น ท่านก็สามารถโหลดมาติดตั้งได้ แต่ก็จะมีปัญหากับระบบการพิมพ์  แต่สามารถ พิมพ์ได้จากโปรแกรม CorelDRAW โดยหาตัวอักษรเหล่านั้นจาก ระบบ  Insert Character  
เลือกอักษรนั้นๆ แล้วกด insert ที่ละตัว ต่อๆกันไป    ในยุคนี้ google translateสามารถหาตัวอักษร โดยการขีดได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่นเราเลือกภาษาจีน แล้วกดปุ่มรูปปากกาในระบบ "เขียนแล้วเจอเลย"  ของ google translateจะสามารถเขียนลากเส้นได้เลย จะมีชุดตัวอักษรโผล่ขึ้นมา เมื่อมาคีย ที่อักษรนั้น เราก็ กด Ctrl+C เพื่อcope แล้วมาทีโปรแกรม CorelDRAW แล้วกดเหมือนเรากำลังจะพิมพ์ แล้วกด Ctrl+V อักษรจีนนั้นก็จะปรากฏบน CorelDRAW แล้วเราก็เปลียนเป็น รูปแบบ อักษรจีนที่สวยๆ จาก font จีนที่เราโหลดมาติดตั้ง

  *เรื่องของการ Export file ****ในตอนนี้เรามาพูดถึงการนำfile ไปใช้งาน ปรกติเมื่อเราสร้างงานด้วย coreldraw เสร็จเรียบร้อย ก็เพียงแต่สั่งพิมพ์ออกไปทางเครื่องพิมพ์ เราก็จะได้งานพิมพ์ออกมาใช้งานเรียบร้อย แต่ถ้าเราต้องการทำfile ไปใช้กับโปรแกรมอื่นล่ะ เช่นจะเอาไปโพสบนเวปไซค์ หรือเอาไปทำเป็นภาพใช้ในโปรแกรมอื่น สิ่งที่เราจะต้องทำคือการส่งออกfileนั้นเอง (Export) อยู่ใน เมนูน่ะครับ File-Export

ก่อนหน้านี้ผมเคยพูดถึงคุณสมบัติของ file อาจจะแบ่งได้เป็นสองพวกคือ เวกเตอร์และบิตแมท ตัวเวกเตอร์เองไม่มีปัญหา มาดึงขยายเองที่หลังได้ ส่วน บิตแมทมีส่วนเกี่ยวข้องที่ต้องทำความเข้าใจ หลายจุดเหมือนกัน ปัญหาในการ EXPORT การเขียนเป็นข้อๆนี่ง่ายดีแต่ว่าอาจครอบคลุมไม่ทุกเรื่อง
เมื่อคุณกด Exportในกรอบ ที่ตามมาคุณจะพบกับสิ่งเหล่านี้

            1.file name ก็คือให้คุณตั้งชื่อนั้นเอง ผมส่วนใหญ่จะตั้งเป็นภาษาอังกฤษ เพราะในความรู้สึกผมเอง เวลาตั้งเป็นภาษาไทยแล้วfileมันชอบเสีย อันนี้ไม่ยืนยันน่ะครับ เพราะเห็นหลายครั้งก็ไม่เป็นตามนั้น

            2.Save as type ก็คือให้คุณเลือก ชนิดของ file ที่คุณจะเซฟ เช่นถ้าเลือกเป็น CDR ด้านขวาของช่องจะมีให้เลือกเวอร์ชั่นด้วย ว่าจะเซฟเป็นเวอร์ชั่นไหน ถ้าไม่เลือกมันก็จะเป็นของเวอร์ชั่นที่ใช้นั้นแหละ
(โปรแกรมเวอร์ชั่นเก่า เปิดเวอร์ชั่นใหม่ไม่ได้ จึงให้ เวอร์ชั่นใหม่ๆสามารถเลือกเซฟเป็นเวอร์ชั่นต่ำกว่ามันก็ได้)
ตรงนี้แหละคุณจะเลือกเป็น JPG BMP PNG หรือ type อื่นๆได้เลย การเลือกfileชนิดไหน ก็จะขึ้นกรอบให้ตั้งค่า ต่างๆในคุณสมบัติของ ไฟล์นั้นๆได้เช่นทำฉากหลังใสได้ สำหรับ gif และ png เป็นต้น

              3.Selected only ถ้าเราเช็คบ็อก มันจะ Export เฉพาะส่วนที่เราจับไว้เท่านั้น ทำให้เลือก Export เฉพาะบางส่วนของชิ้นงานได้ ไม่ต้อง ส่งออกไป ทั้งหมด // ถ้าไม่เช็คบ๊อก มันจะ Export objectทุกชิ้น รวมถึงชิ้นที่อยู่นอกกระดาษ ก็จะถูกรวมไปในรูปนั้นด้วย

               4.Embed Font using TrueDoc(TM) ถ้าเราเช็คบ็อก มันจะเซฟ font ลงไปใน ไฟล์นั้นด้วย แต่ในทางปฏิบัติ ต้องลองกันเองน่ะครับ

               5.Save with Embedded VBA Project ถ้าเราเช็คบ็อก มันจะเซฟ ส่วนของ โปรแกรม Vba ลงไปให้FILEด้วย อันนี้ไม่ค่อยได้ใช้ครับ ยกเว้น เป็น File corelDRAW ที่เขียนเป็นโปรแกรมฝั่งลงไป

               6.ส่วนอื่นในกรอบแรก ขอผ่าน สาเหตุทดลองเปลี่ยนค่าแล้วไม่เห็นความแตกต่าง
กรณีเรา กด OKในกรอบแรก กรอบที่สองจะโพสมาให้ตั้งค่าเพิ่มเติมในกรณี Exportเป็น Bitmap            

1. Image size
Width และ Heigt จะบอกถึงความกว้างยาวของขนาดพิมพ์ ที่ 100เปอร์เซนต์
โดยจะสัมพันธ์กับ resolution
หมายความว่า ถ้าภาพขนาด 1นิ้ว ตั้งค่าที่ 72dpi ใน พื้นที่1นิ้ว มี 72จุดนั้นเอง
ถ้าภาพ ตั้งค่า ที่300dpi ใน พื้นที่1นิ้ว มี 300จุดนั้นเอง
อันนี้เกี่ยวพันกันสองอย่างคือ

ขนาด width heigt จะบอกขนาดจริงของภาพ ถ้าคุณสั่งพิมพ์ file นี้ ก็จะได้ขนาด ตาม width heigt ที่ตั้งไว้
เช่นถ้าตั้งไว้ที่ 10นิ้ว คูณ10นิ้ว ภาพนี้ก็จะถูกพิมพ์ออกมาเป็นขนาด 10x10นิ้วจริงๆ (โปรแกรมพิมพ์ภาพสั่งพิมพ์ที่100เปอร์เซนต์)

ความละเอียดที่ 300dpiก็จะพิมพ์ได้ละเอียดกว่า 72dpiนั้นเอง
ส่วนผลที่สองที่เกิดกับภาพนี้คือ การทำภาพนี้ไปใช้โชว์บนหน้าจอคอม
จากตัวอย่างเดียวกัน
ถ้าภาพ 10x10นิ้วตั้งค่า 72dpi ก็จะส่งผลให้ภาพนี้มีขนาด 720x720
แต่ถ้าภาพ 10x10นิ้วตั้งค่า 300dpi ก็จะส่งผลให้ภาพนี้มีขนาด 3,000x3,000
แล้วภาพ720 กับ 3,000ต่างกันอย่างไร
คือมันจะมีผล เมื่อเปิดโชว์ในหน้าจอคอมแบบ100เปอร์เซนต์ ภาพหลังก็จะมีขนาดล้นจอไปเลยไงครับ

เท่านี้เราก็เข้าใจความสัมพันธ์ของขนาดและความละเอียด
ในส่วนของเส้นเชื่อมโยงข้างหลัง เป็นเรื่องสเกลและขนาดสัมพันธ์ซึ่งจะตั้งค่าได้โดยกด เช็คบ็อกในส่วนของ
Maintain aspect ratio
Maintain original size
อันนี้ง่ายๆครับ กดดูก็เห็นผลที่เส้นเชื่อมโยงข้างหลัง

2.color
COLOR MODE
เลือกปรับค่า bitสีที่ต้องการ สียิ่งเฉดมากขึ้นเมื่อปรับ bitมากขึ้น ส่วน RGBโหมดจะใช้โชว์ในเวปไซค์ได้ ส่วน Cmykโหมดจะโชว์ในเวปไม่ได้ครับ
แต่การพิมพ์ สามารถพิมพ์ได้ทั้งสองโหมดสีครับ
Apply icc Profile หมายถึงให้ฝัง profileสีไปกับ FILE ด้วย

3.Options
Anti-alasing เป็นการลบรอยหยักของภาพครับ อันนี้ขอให้ติ๊กถูกไว้ตลอดเลยครับ ภาพจะสวยกว่า ลองดูได้ครับ
Maintain Layers คือให้เก็บส่วนของเลเยอร์ไว้ ไม่มีคุณสมบัตินี้ในบางFILEครับ เพราะชนิดของบาง file ไม่สนับสนุน เลเยอร์ครับ
Transparent background คือการเซฟแบบไม่เอาฉากหลัง มันจะใสมองทะลุไป แต่ทำได้เฉพาะ file gif และ PNG
ส่วน file ชนิดต่างๆ ก็จะมีปลีกย่อยให้ตั้งค่าเยอะแยะ ตามคุณสมบัติของ file แต่ล่ะชนิด
สำหรับผู้ที่มีคู่มือ จะอยู่หน้า 99-103ครับแจ้งไว้ละเอียดเลย
หนังสืออ้างอิง CorelDRAW X4 The Official Guide

ต่อไปก็จะแนะนำ ชนิดของ file เบื้องต้นที่เราควรรู้ไว้

การ นำไฟล์เข้า(Import)  และการ ส่งไฟล์ออก(Export)

ไฟล์นามสกุลอะไรบ้างที่สามารถเอามาใช้กับ CorelDRAWได้ด้วยคำสั่ง import
และไฟล์นามสกุลอะไรที่สามารถเปลี่ยนงานจากCorelDRAWเป็นfileอื่น ด้วยคำสั่ง Export

              ตระกูล vector file

.cdr เป็นfileที่สร้างจาก CorelDRAWเอง
การกดเซฟในเมนูบาร์ โปรแกรมจะเซฟเป็นต้นฉบับของตัวโปรแกรมเองคือ .CDR
และ เป็นธรรมดาที่ โปรแกรมเวอร์ชั่นเก่า ไม่สามารถเปิดfile CDR ที่สร้างจาก เวอร์ชั่นที่ใหม่กว่าตัวเองได้  เช่น เราสร้าง file จาก CorelDRAW X7 แล้วนำfile นี้ไปเปิดด้วย CorelDRAW X6 fileจะว่างเปล่า เป็นเพราะ CorelDRAW X6 ไม่รู้จัก CorelDRAW X7  แต่ในทางกลับกัน CorelDRAW X7 สามารถเปิดCorelDRAW X6 ได้ ร่วมถึงทุกเวอร์ชั่นที่เก่ากว่าตัวมันเองได้ทั้งหมด    เราจึงควรใช้ CorelDRAW เวอร์ชั่นใหม่ที่สุด ที่มีจำหน่ายในขณะนั้น   แต่หากจำเป็นต้องไปเปิด file cdr ใน CorelDRAW เวอร์ชั่นเก่ากว่าที่เราใช้    ก็สามารถทำได้โดยการลดเวอร์ชั่นfile ขณะ Save ในกรอบจะมีการระบุเวอร์ชั่นได้ เราก็เลือกเวอร์ชั่นเก่าที่ต้องการ เท่านี้ โปรแกรมเวอร์ชั่นเก่าก็จะสามารถเปิดfileที่ทำจากเวอร์ชั่นใหม่ได้

.wmf (Windows Metafile)
เป็นformat ที่สร้างขึ้นสำหรับ windows นานมาแล้วตั้งแต่ ปี 1990
ใช้กับโปรแกรมต่างๆของ windows ซึ่ง CorelDRAW ยอมรับfileนี้

.cmx (Corel Metafile Exchange)
เป็นformat ที่สร้างขึ้นโดย Corel ใช้กับหลายโปรแกรม ของ Corel
เช่น paint shop,corelDRAW
เป็นfile ที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างเวอร์ชั่น
ซึ่งตามปรกติ เวอร์ชั่นเก่าเปิดเวอร์ชั่นใหม่ไม่ได้ แต่ถ้าexport เป็น CMXด้วยCorelDRAWเวอร์ชั่นใหม่ เวอร์ชั่นเก่าสามารถเปิดได้
corelยังมีทำแผ่นรวม ClipART ออกขายด้วย ซึ่งมักจะเป็น .cmx

.ai เป็นfileของ โปรแกรม illustrator แต่ต้องเป็นfileที่สร้างจากillustrator verion เก่ากว่าCoreldRAW จึงจะสามารถเปิดfile นี้ได้

.dxp เป็น fileของโปรแกรม Autocad แต่มีปัญหาตรงที่เส้นแต่ล่ะเส้นจะแยกตัวกันหมด(โหนดจะไม่ต่อกัน) ถ้าจะเติม fill ต้องต่อกันก่อน หรือเติมด้วย Smart fill tool

                ตระกูลที่เป็นทั้ง vector and bitmap file
.eps (Encapsulated PostScript)
เป็นformat ที่สร้างขึ้นโดย Adobe นอกจากจะเก็บเป็น vector ยังเก็บเป็น bitmapได้ด้วย
แถมยังเก็บ font ได้ด้วย CorelDRAW ยอมรับfileนี้

.tif .tiff (Tagged Image File Format)
เป็นformat ที่สร้างขึ้นโดย Adobe ไฟล์นี้ จะเรียกว่าเป็นfile ต้นฉบับเลยก็ว่าได้ เช่น ถ้าใช้
Photoshop ทำ พอกับไปเปิดด้วย Photoshop ยังจะคุณสมบัติเลเยอร์ ซึ่งไม่ถูกรวมเป็นเลเยอร์
เดียวแบบไฟล์อื่น CorelDRAW ยอมรับfileนี้

.pdf(Portable Document Format File)
เป็นformat ที่สร้างขึ้นโดย Adobe Acrobat ไฟล์นี้เป็นที่นิยมในการพิมพ์มาก ทั้งยัง
มีโปรแกรมที่สามารถเปิดได้หลายโปรแกรม รวมทั้งWeb browsers หลายชนิดก็เปิด file ได้
ทั้งยังสนับสนุนการเก็บfont ด้วยบ
หลังจากสร้างงานใน CorelDRAW เราสามารถ Saveเป็น PDF ได้เลย
และหากในเครื่องเรามีลงโปรแกรม Adobe Acrobat เอาไว้
ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมอะไรก็ยังสามารถ print to file เป็น PDF ได้
โดยจะมีเครื่องพิมพ์ชื่อ Adobe pfd พอเราเลือก สั่งพิมพ์ ก็จะให้เราตั้งชื่อเป็น File.pdf

.plt

                 ตระกูล bitmap file
.bmp (Bitmap Image File)
เป็น bitmap ซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่ก็คมชัด อันนี้ CorelDRAW ยอมรับfileนี้

.jpg (JPEG Image)
เนื่องจากปัญหา .bmp มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เลยมีการตกลงกันให้เป็นมาตราฐานของ ภาพที่ใช้ร่วมกัน
jpg ถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็ก โดยจะดูจากสีที่เหมือนกัน จะเก็บข้อมูลไว้ในจุดเดียวกัน ทำให้ประหยัด
ขนาดของfile เวปไซค์ในช่วงแรกๆ ก็ใช้formatนี้ให้การ โชว์ภาพบนเวป ทำให้โชว์ภาพได้เร็วขึ้น
แต่ก็มีการแบ่งระดับ ถ้าเซฟเป็นjpgระดับสูงสุด ก็จะมีขนาดใหญ่พอๆกับ .bmp

.png(Portable Network Graphic)
อีกfile ที่ใช้ในเวป ที่พูดถึงเกี่ยวเนื่องกันคือ .gif gif ถูกพัฒนาให้โครตเล็ก แต่ก็มีข้อจำกัด ก็คือไม่สามารถ
ตั้งค่าสีได้เกิน 256สี ซึ่ง Png ถูกพัฒนามาเพื่อลบข้อจำกัดของ Gif อีกอย่างคือสามารถทำฉากหลังใสได้
แต่ว่ามีข้อจำกัด ตรงที่ ไม่มีโหมด CMYK มีแค่โหมด RGB อย่างเดียว อันนี้เหมาะมากสำหรับการสร้างfileจาก
CorelDRAW แล้วเซพเป็นfileนี้ เพื่อ โพสรูปบนเนต (ลองดูจะสวยกว่า jpg)

เหล่านี้เป็น แค่ file พื้นฐานที่ใช้ประจำ แต่ว่ายังมี file อีกหลายชนิดที่ CorelDRAW รองรับได้ ลองดูใน file type ตอนที่เซฟจะเห็นอีกมากมาย


PowerClip

อธิบาย ง่ายๆ ดังนี้ คือ เรามองผ่านรู กุญแจ เราก็เห็นภาพเป็นรูป รูกุญแจ
หรือเรามีภาพรูปสี่เหลี่ยม แล้ววาดรูปดาวขึ้นมา จากนั้นก็ใช้ Powerclip กด รูปภาพก็จะถูกตัดเป็นรูปดาวเลย
แต่ในความเป็นจริงรูปภาพไม่ได้ถูกตัด มันแค่มองภาพ รูกุญแจที่เป็นรูปดาวนั้นเอง
เราก็สามารถเอารูปยัดเข้าไปในตัวหนังสือ หรือ เรียกว่า มีตัวหนังสือที่มีสีเป็นรูปภาพก็ได้

วัตถุที่ใช้ในการ Powerclip จะมีสองส่วนคือ
1.วัตถุข้อมูล หรือวัตถุต้นตอ (Source Object)
2.วัตถุเป้าหมาย ( Target Object)

สิ่งที่เราจะทำคือ เอารูป ใส่เข้าไปใน กรอบเส้น Vectorที่เราวาดขึ้น

คือ เอา Source(รูป) ใส่เข้าไปใน Target(เส้นvector)

เราต้องจับ รูปภาพ (source)ไว้ก่อน 
แล้วกดเครื่องมือ Powerclip 
แล้วชี้ไปยังวัตถุเป้าหมาย เส้นvector ที่วาดไว้ (target)
รูปภาพก็จะถูกยัดเข้าไปใน เป้าหมาย

ถ้าเราชี้ผิดเงื่อนไข เช่น 
-จับSource แล้วชี้ที่ Source 
-ชี้ที่ วัตถุที่เป็น Bitmap (ยัดรูปเข้ารูปไม่ได้ ต้องยัดรูปเข้าเส้นvector เท่านั้น)
มันก็จะแจ้งว่า The Object you Selected is invalid Do you wish to try again?
หรือ "วัตถุที่คุณเลือกผิด กรุณาทำใหม่"

เพิ่มเติม 
เราสามารถเลือกจับ Source พร้อมๆกันหลายๆชิ้นได้ แล้วยัดเข้าไปที่ Target อันเดียว
เราสามารถปรับแก้ได้ โดยคลิ๊กขวาเลือก edit แล้วโยกย้าย Source ใหม่ 
เมือแก้ไขเสร็จแล้วก็ คลิ๊กขวากด Finish 
สำหรับเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ใต้ Object ที่ทำ power clip จะมีปุ่มแก้ไขเลย ไม่ต้อง คลิ๊กขวา สามารถกดจากปุ่มทันที

มีอะไรในแผนการเรียนรู้ด้วยตนเองhttps://docs.google.com/spreadsheets/d/1s1hKe1TADVH857aRSrzE-Vc5nDqHTrqPLY9JFJbuzBg/edit#gid=1185438800
Posted by thailand corelDRAW USER on 2 มกราคม 2015





ความคิดเห็น

  1. รบกวนอาจารย์ การปรับระยะบรรทัด ไม่ค่อยเข้าใจครับ ขออาจารย์สอนแบบให้เห็นการทำเลยได้ไหมครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  2. สอบถามอาจารย์ ผมใช้ coreldraw x6 เวลาพิมพ์ภาษาไทย ใช้ชุด Num Lock พิมพ์ตัวเลขจะเป็นเลขไทย จะตั้งค่าอย่างไรให้พิมพ์เริ่มต้นเป็น เลขอารบิค ในขณะที่พิมพ์ไทยครับ อีกอย่างสามารถตั้งค่าการพิมพ์ไทยไม่ให้สละลอยได้มั๊ยครับ ขอบพระคุณครับ

    ตอบลบ
  3. ผมอยากทราบว่าโปรแกรมสามารถดาวว์โหลดและมีคู่มือขายหรือป่าวคัฟ

    ตอบลบ
  4. ยังมีหนังสือขายไหมตรับอาจาร โปแกรม coredraw x4 ,x6 x11

    ตอบลบ
  5. สอบถาม ครับ ใช้ เวอร์ชั่น 11 ชอบเจอ ปัญหา วัตถุมันล็อค ใช้ศรยกขยับไม่ได้ครับ มันจะขั้นจุด มารอบ วัตถุ ครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แปลเมนู โปรแกรม CorelDRAW x6 เป็นภาษาไทย

ศัพท์ --> อ่านไทย --> แปลไทย   เมนูโปรแกรม CorelDRAW X6 ***************  file --> ไฟล์ --> ไฟล์ New --> นิวส์ --> เริ่มสร้างไฟล์ใหม่ New From Template… --> นิวส์ ฟอร์ม แทมเพลต --> เริ่มสร้างไฟล์ใหม่ จากแทมเพลต(แบบฟอร์มสำเร็จรูป) Open --> โอเพ่น --> เปิดไฟล์ Open Recent --> โอเพ่น รีเซน --> เปิดไฟล์ ที่เพิ่งเปิดไป ล่าสุด 15อันดับ close --> โค๊ส --> ปิดไฟล์ close All --> โค๊ส-ออ --> ปิดไฟล์ทั้งหมด Save --> เซฟ --> บันทึก Save AS.. --> เซฟ-แอส --> บันทึกเป็นอีกชื่อ Save AS Tempate --> เซฟ-แอส-แทมเพลต --> บันทึกเป็น แบบฟอร์มสำเร็จรูป Revert --> รีเวิด --> ย้อนกลับไปตอนแรกที่เพิ่ง เปิดไฟล์ (ที่ทำอะไรไปหายหมด กลับเป็นเหมือนเดิมแรกเปิด Acquire image

การทำ font ด้วย CorelDRAW

สวัสดีครับ   อันนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ font  ที่เราออกแบบ แล้วต้องการทำเป็น font  .ttf ซึ่งสามารถใช้งานได้กับ CorelDRAW    อันนี้เป็นเบื้องต้นน่ะครับ ผมทดลองทำดูเพื่อใช้ font นี้ในการทำสติกเกอร์ line ซึ่งได้ ผลดีกว่า เพราะมันพิมพ์ได้เลย ไม่ต้องมาประกอบที่ล่ะตัวตามวิดีโอเบื้องต้น การทำfont ขั้นตอนที่ 1 คือ คุณต้องออกแบบ font ตัวก.ไก่ ถึง ฮ.นกฮูก พร้อมวรรณยุกติ์ สระ ต่างๆ จนครบ เราก็ควรออกแบบให้ขนาดของตัวอักษร มีความกว้าง ความสูงพอดีกัน  เพื่อนำไปใช้ทำเป็น font ในช่วงการ save เป็น font  จะได้มีขนาดเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน สำหรับคนไม่รู้จะเริ่มในขั้นตอนนี้ยังไง ผมก็มีวิธีง่าย ๆ คือ ให้เราวาดเป็นเส้นเดี่ยวๆ  ตามลายมือ เรา หรือ ลายมือเพื่อนเราที่เค้าเขียนสวยๆ มาเป็นต้นแบบ กำหนดความหนาของเส้นตามต้องการ แล้วแปลงเส้นเป็น Object ตามวิดีโอปลากรอบ ดังนี้ สองตอนต่อกัน น่ะครับ เราก็จะได้เห็นการสร้าง ด้วยเส้นๆเดียวแบบง่ายๆ  เสร็จขั้นตอนนี้เราเอาไปเรียงๆกันใช้งานได้เลย แต่ก็ไม่สะดวกน่ะครับ  บังเอิญ ไปเห็น web ที่เค้าสอนวิธีทำfont ด้วย CorelDRAW ขั้นตอนที่สอง การโหลด กระดาษ แทมเพด